พช.อ่างทอง รวมพลังบวร MOU เอามื้อสามัคคี เสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง สู่ความมั่นคงทางด้านอาหาร

ปรับขนาดตัวอักษร

          วันที่ 25 มีนาคม 2564 เวลา 09.30 น.  นายสุชน ภัยธิราช รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานเปิดโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง กิจกรรม ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร โดยมี เจ้าอาวาสวัดพิจารณ์โสภณ เจ้าอาวาสวัดถนนสุทธาราม นางปิติมา รักพานิชมณี นายกเหล่ากาชาดจังหวัดอ่างทอง นางรัชนี ภัยธิราช รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดอ่างทอง ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ร่วมเป็นเกียรติ  ณ ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต้นแบบ บ้านน้ำวน หมู่ที่ 6 ต.โผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง

          ตามที่กรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินการ "น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีสู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร" โดยเน้นการพึ่งตนเองและสร้างความสามัคคีของคนในชุมชน เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือน และลดรายจ่ายในการดำรงชีวิตของประชาชน สร้างรายได้ระยะสั้นทั้งในระดับครัวเรือนและระดับกลุ่มอาชีพ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน - 30 มิถุนายน 2563 บนหลักการสำคัญคือ 1. จะพัฒนาใครเขาต้องเริ่มจากตัวเราก่อน 2. ผู้นำต้องทำก่อน 3. ผนึกกำลัง ตั้งระบบ ทำให้ครบวงจร 4. ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวแบบเข้าถึงทุกครัวเรือน และ 5. สร้างเครือข่ายขยายผล นั้น

          กรมการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดแนวทางขยายผลการดำเนินงาน "น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีสู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร" ระยะที่ 2 สร้างวัฒนธรรมปลูกพืชผักประจำครัวเรือน โดยมี 5 ขั้นตอนสำคัญ คือ 1. ความต่อเนื่องคือพลัง 2. ทำเป็นบ้านสานเป็นกลุ่ม 3. ชุมชนสีเขียว เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 4. จากวัฒนธรรมสู่นวัตกรรม 5. ชุมชนเกื้อกูลเพิ่มพูนสามัคคีวิถีพอเพียง

          เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้นำชุมชนให้สามารถบูรณาการงานพัฒนาชุมชนและเป็นแกนนำหลักในการบริหารจัดการชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน กรมการพัฒนาชุมชนได้จัดทำโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง ให้เป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอ่างทอง ได้ดำเนินโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงจำนวน 10 ตำบล/รุ่นๆละ 15 คน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ทั้ง 10 ตำบล/รุ่น

          พิธีลงนามบันทึกตกลงความร่วมมือฯ ในครั้งนี้ ผู้นำตำบลโผงเผง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ได้ประสานบูรณาการความร่วมมือกับเครือข่ายภาคีการพัฒนา 3 ภาคส่วน ประกอบด้วยภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ดำเนินการโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงขึ้นเพื่อเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจ ของกรมการพัฒนาชุมชนให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ คือ ผู้นำชุมชน เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนบูรณาการงานสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่า การปกป้องดิน สร้างความสามัคคีของคนในชุมชน พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมกระบวนการพัฒนาการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร โดยเริ่มจากผู้นำชุมชน สู่ครัวเรือนต้นแบบ ขยายผลให้ครอบคลุมทุกครัวเรือนในพื้นที่ตำบลโผงเผง ดำเนินการคู่ขนานร่วมกับภาคีต่างๆ ในพื้นที่ จึงได้ตกลงร่วมกันขับเคลื่อนโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง ภายใต้กิจกรรม ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร ให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามที่กำหนด

          โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนร่วมลงนามประกอบด้วย พ.ต.อ.เสวก เอี่ยมมงคล ผู้กำกับการสถานีตำรวนภูธรป่าโมก นายกิตติภัทร์ ศรีเตโชภาส สาธารณสุขอำเภอ นางสาวธัญทิพย์ แช่มประเสริส ปลัดองค์การบริการส่วนตำบลปฏิบัติหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโผงเผง นางสาวยุราวัลย์ ขันทอง ผู้จัดการบริษัท อ่างทอง โอทอป อินเตอร์เทรดเดอร์ จำกัด นายฉัตรชัย เย็นทรวง ปลัดอำเภอ(เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการ)รักษาราชการแทนนายอำเภอป่าโมก นายอำนาจ คล้ายสิทธิ์ กำนันตำบลโผงเผง นางสาวชนิดา หินเพชร นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ รักษาราชการแทนพัฒนาการอำเภอป่าโมก นางสาวดวงฤทัย ธรรมอนันต์ เกษตรอำเภอป่าโมก นายวิทยา กลีบกลาง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดพิจารณ์โสภณ นายสิทธิชัย ภัคภัทร ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดถนน ว่าที่ ร.ต.อภิชาติ ขันธชัย ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอป่าโมก

          นายสุชน ภัยธิราช รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง กล่าวว่า ผู้นำชุมชนเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนบูรณาการงาน สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน สร้างความสามัคคีของคนในชุมชน เป็นแกนหลักในการบริหารจัดการชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1 หมุ่บ้าน สามารถดูแลได้ทั้่งตำบล สร้างความมั่นคงทางอาหาร ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ได้กำชับให้ผู้นำทุกระดับปลูกพืชผักสวนครัวเป็นตัวอย่างให้กับประชาชนทั่วไป โดยเริ่มต้นที่บ้านพักให้เห็นเป็นรูปธรรม

          นางปิติมา รักพานิชมณี นายกเหล่ากาชาดจังหวัดอ่างทอง กล่าวว่า ในส่วนของสมาคมแม่บ้านมหาดไทยนั้น มีนโยบายที่สำคัญ 2 เรื่อง คือ การรณรงค์สวมใส่ผ้าไทย ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563 เห็นชอบมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย ซึ่งสอดคล้องกับโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ในการอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่ผ้าไทย เพื่อสร้างค่านิยมและการตระหนัก รับรู้ รักษามรดก อัตลักษณ์ภูมิปัญญาของไทย และอนุรักษ์ต่อยอดภูมิปัญญาพัฒนาผ้าไทยเพื่อเป็นสินค้าเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ และนโยบาย “ที่ว่างสร้างอาหาร” ด้วยวิธีการนำปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการรีไซเคิลมาใช้กับแปลงผักสวนครัว ที่ปลูกตามที่ว่าง ริมรั้ว ในกระถาง ซึ่งสอดคล้องกับน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีสู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร"

โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้

1. พิธีลงนามบันทึกตกลงความร่วมมือ

2. มอบใบประกาศเกียรติคุณ ขอบคุณผู้มีอุปการคุณสนับสนุนการขับเคลื่อนกิจกรรม เพื่อปรับปรุงพื้นที่แปลงสาธิตการปลูกผักสวนครัวสร้างความมั่นคงทางอาหาร จำนวน 3 ราย

3. ขยายผลมอบพืชพันธ์ผักสวนครัว ให้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้นำชุมชน

4. กิจกรรมเอามื้อปลูกผักสวนครัวสร้างความมั่นคงทางอาหาร และถนนกินได้

17040601
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่ผ่านมา
เฉพาะเดือนนี้
เดือนที่ผ่านมา
ทั้งหมด
2128
2827
13455
16918448
54716
258784
17040601

IP 18.220.227.250
Server Time: 2025-01-10 15:27

สำหรับเจ้าหน้าที่