วันที่ 23 สิงหาคม 2561 เวลา 09.09 น. นายรัฐฐะ สิริธรังศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานในพิธีไหว้ครูกลอง ประจำปี 2561 โดยมีนายอำเภอป่าโมก นางจุรีพร ขันตี วัฒนธรรมจังหวัดอ่างทอง หัวหน้าส่วนราชการ ประชาชนในพื้นที่อำเภอป่าโมก ร่วมพิธีไหว้ครูกลอง ครั้งที่ 8 ประจำปี 2561 จังหวัดอ่างทอง ณ หมู่บ้านกลองเอกราช อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง
นายไพบูลย์ ศุภบุญ นายอำเภอป่าโมก กล่าวว่า อำเภอป่าโมกและองค์การบริหารส่วนตำบลเอกราช พร้อมทั้งผู้นำกลุ่มผู้มีอาชีพทำกลองและชาวตำบลเอกราช ร่วมกันจัดงานมหกรรมกลองนานาชาติและพิธีไหว้ครูกลองขึ้นเป็นประจำทุกปี ที่จะมีขึ้นในวันที่ 22– 26 สิงหาคม 2561 ณ ชุมชนเอกราช หมู่บ้านทำกลอง ตำบลเอกราช อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง รวม 4 วัน 4 คืน โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณครุบาอาจารย์ ที่ได้ประสิทธิประสาทวิชาการทำกลองไว้ให้เพื่อประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัว เป็นการส่งเสริมและการประสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ของหมู่บ้านกลองเอกราช และเพื่อให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ของคนทั่วไป ทั้งชาวไทย และต่างชาติ
ทางด้านนายศราวุธ เผ่าพยัค นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเอกราช กล่าวว่า หมู่บ้านกลองตำบลเอกราช เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการทำกลองที่มีคุณภาพ และมีการสืบทอดการทำกลอง ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษจนเป็นมรดกตกทอดจนมาถึงรุ่นลูก รุ่นหลาน เป็นการสั่งสมประสบการณ์ตลอดจนมีการพัฒนา และปรับปรุงแก้ไข จนเป็นแหล่งผลิตกลองที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของนักดนตรีไทยระดับมืออาชีพ ทั้งเป็นการยอมรับของชาวต่างชาติ ดังนั้นชาวตำบลเอกราชจึงได้จัดทำพิธีไหว้ครูกลอง เพื่อถวายแด่พระเพชรฉลูกัณฑ์ ซึ่งเป็นเทพแห่งความสำเร็จ และการจัดแสดงแหล่งทำกลองนานาชาติที่มีคุณภาพมากที่สุดในประเทศไทย ณ หมู่บ้านกลองเอกราชสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เวลา ๐๘.๓๐ น. นายวีร์รวุทธ์ ปุตระเศรณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง พร้อมด้วยรองผู้ว่าราชการจังหวัดจังหวัดฯ หัวหน้าส่วนราชการ และข้าราชการ เข้าร่วมการสัมมนาโครงการประชาสัมพันธ์เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์จังหวัดอ่างทอง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง ชั้น ๒
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 10.00 น. นายรณชัย จิตรวิเศษ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานเปิดการอบรมโครงการโรงเรียนพร้อมรับภัยพิบัติ จากสำนักบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย เพื่อส่งเสริมโรงเรียน ซึ่งมีครู นักเรียน เข้าร่วมรับการอบรมเพื่อให้สามารถเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติสามารถวางแผน และร่วมกันดำเนินการสร้างเสริมศักยภาพความพร้อมรับภัยพิบัติในโรงเรียน ณ โรงเรียนวิเศษชัยชาญตันติวิทยาภูมิ อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง
นางสาว ภาวิณี อยู่ประเสริฐ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์ และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า โรงเรียนเป็นสถานที่สำคัญและเป็นศูนย์รวมกิจกรรมของชุมชน อีกทั้งเป็นสถานที่ที่เด็กและเยาวชนใช้เวลาอยู่มากที่สุดระหว่างวัน การเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติร้ายแรงที่ส่งผลกระทบถึงโรงเรียน ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อเด็กนักเรียนเป็นจำนวนมาก อาจเกิดการสูญหาย บาดเจ็บ และเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ในผลกระทบด้านโครงสร้างและสิ่งแวดล้อม โรงเรียนจะไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ หรือมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอันตรายจากโครงสร้างที่ชำรุดโดยไม่คาดคิด ความปลอดภัยในโรงเรียนจึงถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ทางสำนักงานบรรเทาทุกข์ และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย จึงดำเนินโครงนี้เพื่อให้ความรู้แก่บุคลากรของทางโรงเรียน รวมไปถึงตัวนักเรียน หากเกิดภัยพิบัติจริง
วันที่ 8 มกราคม 2563 เวลา 11.00 น. นายแพทย์สุระ วิเศษศักดิ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 4 และคณะร่วมทำพิธีเปิดอาคารดูแลผู้ป่วยโควิด 19 จังหวัดอ่างทอง (Cohort ward)ณ โรงพยาบาลป่าโมก อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง โดยมีนายขจรเกียรติ รักพานิชมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง พร้อมด้วย นายแพทย์ศรีศักดิ์ ตั้งจิตธรรม นายแพทยสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง นายแพทย์ประภาส ลี้สุทธิพรชัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนามจังหวัดอ่างทอง และ นายภารดร ปริศนานันทกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง ให้การต้อนรับ
นายแพทย์ประภาส ลี้สุทธิพรชัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนามจังหวัดอ่างทอง รายงานว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด 19 จังหวัดอ่างทอง ได้ดำเนินการค้นหาเชิงรุก พบผู้ป่วย จำนวน 74 ราย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง จึงได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข (EOC) มีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่การคัดกรองผู้ป่วยการเปิดคลินิกโรคระบบทางเดินหายใจ การเตรียมหอผู้ป่วยเพื่อรองรับกรณีพบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค PUI กรณีมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นและมีการแพร่ระบาดของโรคจนทำให้มีผู้ป่วยจำนวนมาก จำเป็นต้องมีอาคารดูแลผู้ป่วยโควิด 19 สำหรับรองรับผู้ป่วย ไว้ดูแลรักษาแบบผู้ป่วยใน และให้การดูแลผู้ป่วยที่อาการคงที่ไม่รุนแรง จังหวัดอ่างทอง ได้ใช้อาคารผู้ป่วยใน โรงพยาบาลป่าโมก เป็นอาคารดูแลผู้ป่วยโควิด 19 ของจังหวัดอ่างทอง เป็นอาคาร 5 ชั้น จำนวน 48 เตียง
เนื้อหาอื่นๆ...
- จังหวัดอ่างทองจัดเวทีสภากาแฟจังหวัดอ่างทอง ประจำเดือน เมษายน 2561
- จังหวัดอ่างทองจัดแถลงข่าว สพฐ สปอนเซอร์ รอบชิงแชมป์ประเทศไทย ที่สนามบาสเกตบอลโรงเรียนสตรีอ่างทอง
- จังหวัดอ่างทองจัดแถลงข่าวงาน "๑๑๘ ปี ของดีเมืองอ่างทองและกาชาด ประจำปี ๒๕๕๗"
- จังหวัดอ่างทองจัดแถลงข่าวงานเกษตรและของดีเมืองอ่างทอง ครั้งที่ ๓ ประจำปี ๒๕๕๘