วันที่ 7 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30 น. นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ลงพื้นที่เพื่ออำนวยการแก้ไขปัญหาอุทกภัย บริเวณ ม.3 – ม.6 ต.จรเข้ร้อง อ.ไชโย ซึ่งมีน้ำท่วมสูง โดยมีนายกรวีร์ ปริศนานันทกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง นายอำเภอแสวงหาผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้อำนวยการณ์เหตุการณ์อำเภอไชโย ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงอ่างทอง ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทอ่างทอง นายกเทศมนตรี ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมอำนวยการ โดยร่วมเจรจากับประชาชนในพื้นที่เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยได้แนวทางการแก้ไขปัญหา ร่วมกันว่า จะดำเนินการเปิดคันกั้นน้ำเป็นระยะ ๆ บางส่วนเพื่อระบายน้ำลงคลองชลประทานเพื่อรักษาระดับน้ำบริเวณที่ท่วมไม่ให้สูงเกินไป ขณะเดียวกันก็จะรักษาระดับน้ำในคลองชลประทานเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนเช่นกัน
วันที่ 20 กันยายน 2564 เวลา15.00 น. นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง พร้อมด้วยนายศักดิ์ดาบรรดาศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง นายปริญญา เขมะชิต ปลัดจังหวัดอ่างทอง นายอำเภอป่าโมก โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดอ่างทอง ผู้อำนวยการโครงการชลประทานอ่างทอง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอ่างทอง ร่วมลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานคลองบางโผงเผง ต.โผงเผง อ.ป่าโมก ซึ่งระดับน้ำในวันนี้อยู่ที่ 1,400 ลบ.ม.ต่อวินาที / ระดับความสูง 4.2 เมตร ต่ำกว่าแนวตลิ่งประมาณ 1.3 เมตร และต่ำกว่าแนวเขื่อนป้องกันตลิ่งประมาณ 4 เมตร
ส่วนขีดความสามารถในการรองรับมวลน้ำโดยประมาณได้ 1,800 ลบ.เมตร/วินาที
ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองพร้อมทีมงานได้ร่วมกันหารือแนวทางการบริหารจัดการน้ำในเบื้องต้น เพื่อป้องกันสถานการณ์ภัยแล้งในอนาคตด้วย และการหารือสภาพปัญหาอุปสรรคในการก่อสร้างแนวเขื่อนป้องกันตลิ่ง และจะมีการนัดหารือเป็นกรณีเร่งด่วนอีกครั้งภายในสัปดาห์นี้
วันที่ 26 กันยายน 2564 เวลา 11.00 น. นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามสถานการณ์น้ำในเขตพื้นที่ตำบลโผงเผง อำเภอป่าโมก บริเวณสะพานคลองโผงเผง พร้อมด้วย นายปริญญา เขมะชิต ปลัดจังหวัดอ่างทอง นายภราดร ปริศนานันทกุล และ นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง ผู้อำนวยการโครงการชลประทานอ่างทอง ร่วมลงพื้นที่ด้วย โดยมี นายอำเภอป่าโมก พร้อมทีมปกครองท้องที่และท้องถิ่นอำนวยสถานการณ์ในพื้นที่
ในการนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองได้นำชุดยังชีพเครื่องอุปโภคบริโภค ซึ่งอำนวยการสนับสนุนจากสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดอ่างทอง มอบบรรเทาทุกข์ในเบื้องต้นในเขตพื้นที่ หมู่ 3 ก่อนเป็นกรณีเร่งด่วน และในวันเดียวกัน สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดอ่างทองจักได้บูรณาการความช่วยเหลือไปยังพื้นที่อื่น ๆ ภายใต้การประสานงานร่วมกับพื้นที่ด้วย
ในขณะที่ในพื้นที่ นายอำเภอ ฝ่ายปกครองท้องที่และท้องถิ่น พร้อมส่วนราชการระดับจังหวัดพยายามระดมสรรพกำลังในการซ่อมแซมแนวตลิ่งและระดมสูบน้ำออกอย่างต่อเนื่อง
วันที่ 20 เมษายน 2564 เวลา 16.30 น. นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ลงพื้นที่ตรวจความพร้อมของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา (ศูนย์อุดมศึกษาอ่างทอง) เพื่อเปิดเป็นสถานกักตัวเพื่อเฝ้าระวัง/สังเกตอาการ (Local Quarantine-LQ) จ.อ่างทอง ณ ต.ศาลาแดง มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา (ศูนย์อุดมศึกษาอ่างทอง) โดยมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ปลัดจังหวัดอ่างทอง นายอำเภอเมืองอ่างทอง เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง และเจ้าหน้าที่ที่ทำการปกครองจังหวัดอ่างทอง/อำเภอเมืองอ่างทอง ร่วมตรวจความพร้อม