วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 07.29 น. นายเรวัต ประสงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานในพิธีบวงสรวงงาน "เกษตรและของดีเมืองอ่างทอง ครั้งที่ 7 ประจำปี 2562 ณ วัดขุนอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง โดยมีหัวหน้าส่วนราชการจังหวัด นายอำเภอทุกอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ เข้าร่วมพิธี
วันที่ 17 ตุลาคม 2560 เวลา 09.14 น. นาย ประมวล มุ่งมาตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานในพิธีตัดต้นกล้วยตานี พร้อมด้วยนายศักดิ์ดา บรรดาศักดิ์ นายอำเภอเมืองอ่างทอง ณ บริเวณบ้านเลขที่ 24 หมู่ที่ 4 ตำบลบ่อแร่ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นบ้านของอาจารย์สุรเดช เดชคง อายุ 65 ปี ครูภูมิปัญญาไทย สาขาศิลปกรรมการแทงหยวก เพื่อทำการตัดต้นกล้วยตานีที่ได้รับการคัดเลือก จำนวน 9 ต้น นำไปแทงหยวกฉลุเป็นลวดลายประดับตกแต่งพระจิตกาธาน พระเมรุมาศ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง ซึ่งก่อนจะตัดต้นกล้วยตานี รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง นายอำเภอเมืองอ่างทอง อาจารย์สุรเดช ครูภูมิปัญญาไทย และผู้เข้าร่วมงาน ได้ทำพิธีบวงสรวงเพื่อเป็นการขอขมาต้นกล้วยตานี และเจ้าที่ พร้อมกับนำหน่อกล้วยมาปลูกเป็นการทดแทน ก่อนที่จะเริ่มทำพิธีบวงสรวงตัดต้นกล้วยตานี
ด้านอาจารย์สุรเดช กล่าวว่า ต้นกล้วยที่จะนำไปใช้ในการแทงหยวกฉลุเป็นลวดลายประดับตกแต่งพระจิตกาธาน ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมราชบพิตร จะต้องเป็นต้นกล้วยตานี ที่ยังไม่ออกเครือ มีอายุประมาณ 1 ปี ซึ่งได้ทำการคัดเลือกตามขั้นตอนแล้ว โดยจังหวัดอ่างทอง เป็น 1 ใน 3 จังหวัด ที่ได้รับการมอบหมายให้ส่งต้นกล้วยตานี นำไปแทงหยวกฉลุเป็นลวดลายประดับตกแต่งพระจิตกาธาน พระเมรุมาศ จำนวน 9 ต้น นอกจากนี้ยังมีจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 50 ต้น จังหวัดจันทบุรี จำนวน 40 ต้น รวมทั้งหมดที่จะใช้ต้นกล้วยตานีในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ จำนวน 99 ต้น ซึ่งขั้นตอนในการตัดกล้วยตานี จะต้องทำพิธีบวงสรวงเพื่อขอขมาเจ้าที่ และต้นกล้วยตานี พร้อมกับพิธีสงฆ์เพื่อรับศีลภาวนาให้ร่างกายผู้ที่ทำการตัดกล้วยให้มีความสะอาด เมื่อเริ่มตัดต้นกล้วยตานีก็จะต้องขุดดินบริเวณที่ปลูกเก่านำมาห่อผ้าขาว เพื่อใช้นำไปกลบหน่อกล้วยใหม่ที่นำมาปลูกเป็นการทดแทน โดยพิธีการตัดต้นกล้วยตานีจะต้องมีเจ้าหน้าที่คอยรับไม่ให้ตกพื้นดิน พร้อมนำผ้าขาวและใบกล้วยมารองต้นกล้วยที่ถูกตัด จากนั้น นำผ้าขาวและใบกล้วยมาปิดทับอีกชั้นหนึ่ง เพื่อนำใส่รถบรรทุกไปเก็บรักษาเอาไว้ที่อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง ก่อนที่จะทำการขนส่งเข้าไปประกอบพิธีเพิ่มเติม และแทงหยวกฉลุลวดลาย
สำหรับในวันที่ 18 ตุลาคม 2560 ทางจังหวัดอ่างทอง จะได้มีการจัดขบวนนำรถที่บรรทุกต้นกล้วยตานีที่ถูกคัดเลือก นำไปใช้ร่วมพิธีแทงหยวกฉลุเป็นลวดลายประดับตกแต่งพระจิตกาธาน พระเมรุมาศ เริ่มเดินทางออกจากอำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง ในเวลา 09.00 น เพื่อนำไปเริ่มขั้นตอนของการแทงหยวกฉลุลวดลายต่อไป
วันที่ 26 มกราคม 2561 เวลา 07.00 น.นายวีร์รวุทธ์ ปุตระเศรณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานพิธีบวงสรวงศาลหลักเมืองอ่างทอง เนื่องในการจัดงานกาชาดและของดีเมืองอ่างทอง ประจำปี 2561พร้อมด้วย นางทักษณิภร ปุตระเศรณี นายกเหล่ากาชาดจังหวัด งานมีขึ้นระหว่างวันที่ 26 ม.ค.- 4 ก.พ.61 จากนั้นได้ทำพิธีบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพชนชาวจังหวัดอ่างทองและอดีตผู้บริหารจังหวัดอ่างทอง ตามลำดับโดยมี นายประมวล มุ่งมาตร นายรัฐฐะ สิริธรังศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง นายสมยศ พุ่มน้อย ปลัดจังหวัด/เลขาฯจัดงาน คณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการจังหวัด นายอำเภอ และคณะข้าราชการ เข้าร่วมพิธีโดยพร้อมเพรียง�่นนรสิงห์” ประจำปี 2561 กำหนดจัดระหว่างวันที่ 25 - 27 มกราคม 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการรำลึกและเชิดชูเกียรติพันท้ายรนรสิงห์ ซึ่งเป็นชาวจังหวัดอ่างทอง ปลูกจิตสำนึกใสเรื่องความซื่อสัตย์ รักษาระเบียบวินัยละเคารพกฎหมาย และเพื่อให้ชาวจังหวัดอ่างทองได้ภาคภูมิใจที่มีบรรพบุรุษเป็นต้นแบบของผู้ที่มีความซื่อสัตย์จงรักภักดี กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการจัดพิธีบวงสรวง สดุดีเกียรติคุณ ทำบุญอุทิศส่วนกุศล การจัดนิทรรศการของหน่วยงานต่างๆ การแสดงลิเกรำลึกวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของพันท้ายนรสิงห์ มีการจัดบรรยากาศของงานเป็นแบบย้อนยุค และรวบรวมผลิตภัณฑ์ของดีจังหวัดอ่างทองมาจัดแสดงและจำหน่ายในงานนี้ด้วย
วันที่ 28 สิงหาคม 2560 นายวีร์รวุทธ์ ปุตระเศรณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานในพิธีบวงสรวงตอกเสาเข็ม ในการสร้างพระเมรุมาศจำลอง ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดอ่างทอง (หลังเก่า) โดยใช้สถานที่สนามหน้าศาลากลางจังหวัดอ่างทอง (หลังเก่า) เป็นที่จัดสร้าง เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ครั้งเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสด็จที่หน้าศาลากลางจังหวัดอ่างทอง(หลังเก่า) เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2498
โดยหมายกำหนดการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 จำนวน 5 วัน ระหว่างวันที่ 25 – 29 ตุลาคม 2560 โดยจะมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับข้อมูลภาพพระราชกรณียกิจที่ทรงพระราชทานในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนได้ชื่นชมพระบารมี ขณะที่พิธีถวายดอกไม้จันทน์ แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ก่อนวันพระราชพิธี ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นตัวแทนถวายพระเพลิงพระบรมศพ จังหวัดละ 1 ช่อ แล้วส่งมารวบรวมที่กรุงเทพมหานคร เพื่อเชิญไปถวายที่หอเปลื้องพระเมรุมาศในวันพระราชพิธี และในวันพระราชพิธี ในวันที่ 26 ตุลาคม 2560 ให้จัดพิธีพร้อมส่วนกลาง โดยให้มีการแสดงมหรสพวัฒนธรรมไทยด้วย และทางวัฒนธรรมจะแจกแผ่นพับที่ระลึกในพระราชพิธีแก่ประชาชนทุกคน
เนื้อหาอื่นๆ...
- พิธีบวงสรวงอนุสรณ์สถานวีรชน และพิธีวางพวงมาลา "สดุดีวีรชนคนแสวงหา" ครั้งที่ 11 ประจำปี 2560
- พิธีบวงสรวงและพิธีวางพวงมาลา เนื่องในงาน "สดุดีวีรชนคนแสวงหา" ครั้งที่ 12 ประจำปี 2561
- พิธีบวงสรวงและวางพวงมาลาสักการะวีรชนแขวงเมืองวิเศษไชยชาญในงานรำลึกวีรชนแขวงเมืองวิเศษไชยชาญ ประจำปี 2561
- พิธีบวงสรวงและวางพวงมาลาสักการะแด่วีรชนแขวงเมืองวิเศษไชยชาญ ประจำปี 2564