วันที่ 13 ตุลาคม 2564 เวลา 14.00 น. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและคณะ ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมและติดตามสถานการณ์อุทกภัยในเขตพื้นที่ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ณ เทศบาลตำบลไชโย โดยนาย วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ได้รายงานสถานการณ์อุทกภัยในเขตพื้นที่จังหวัดอ่างทองให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรับทราบ จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้มอบเครื่องอุปโภคบริโภคให้กับผู้ประสบอุทกภัย และลงเรือนำไปมอบให้กับผู้ประสบอุทกภัยตามบ้านเรือนต่าง ๆ
วันที่ 23 มกราคม 2560 เวลา 08.00 น. นายวีร์รวุทธ์ ปุตระเศรณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานในการรับมอบเงินบริจาค เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมภาคใต้ โดยมีนายวินัย ปานแดง ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีอ่างทอง เป็นตัวแทนในการส่งมอบเงินบริจาค จำนวน 42,808.75 บาท ณ บริเวณโรงเรียนสตรีอ่างทอง อ.เมือง จ.อ่างทอง
สำหรับเงินบริจาคครั้งนี้ ได้จากการรวบรวมเงินบริจาคของทางผู้ปกครอง คระครู และนักเรียน ที่ร่วมใจกันบริจาคตามกำลังทรัพย์ด้วยความเต็มใจ เพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์ให้กับพี่น้องชาวภาคใต้ที่ต้องประสบปัญหาจากเหตุอุทกภัยอย่างรุนแรง ทำให้เกิดความเสียทั้งด้านที่อยู่อาศัย เครื่องอุปโภค บริโภค เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และเส้นทางการสัญจร ทำให้ได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก ทั้งทางโรงเรียนสตรีอ่างทองจึงได้รวบรวมปัจจัย เพื่อส่งมอบให้กับทางผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองในการส่งมอบต่อ ในการช่วยเหลือพี่น้องผู้ประสบอุทกภัยชาวภาคใต้ต่อไป
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาเหตุดินทรุดตัว บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2555 เวลา 11.30 น.
นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมคณะ ลงพื้นที่เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาเหตุดินทรุดตัว บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ณ หมู่ 3 ต.โพสะ อ.เมืองอ่างทอง จ.อ่างทอง โดยนายวิศว ศะศิสมิต ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองและหัวหน้าส่วนราชการ ให้การต้อนรับ
นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่าจากปัญหาเหตุดินทรุดตัวริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ จังหวัดอ่างทองถือได้ว่าเป็นจังหวัดแรกที่พบปัญหานี้ และบริเวณหมู่ 3 ต.โพสะ อ.เมืองอ่างทอง เป็นจุดที่พบการทรุดตัวของดินเป็นบริเวณกว้างและเปิดความเสียหายมากที่สุด ทางรัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น จึงให้ผู้ที่มีความรู้ด้านธรณีวิทยา และด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่เพื่อหาสาเหตุของดินที่ทรุดตัว โดยในครั้งนี้ได้ทราบสาเหตุของการทรุดของดินว่า จากการขุดเจาะชั้นดินด้วยความลึกกว่า 30 เมตร พบว่าชั้นที่ 1 – 14 จะเป็นชั้นดินเหนียว และชั้นที่ 15 - 29 จะเป็นชั้นดินทราย ซึ่งจากชั้นดินทรายนั้นได้ทำการรับปริมาณน้ำเป็นจำนวนมากจากเหตุการณ์มหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2554 ที่ผ่านมา เมื่อปริมาณน้ำลดลง ทำให้ทรายจำนวนมากไหลลงตามสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เกิดเป็นโพลงขนาดใหญ่ และพอเวลาผ่านไป ก็เกิดการทรุดตัวของดินทำให้เกิดความเสียหาย โดย ทางรัฐบาลจะมีการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อป้องกันการทรุดตัวของดินต่อไป
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ภาพ/ข่าว...สำนักข่าวท้องถิ่นจังหวัดอ่างทอง (AngthongNews)
035-860371 , 081-4012558 , 081-4022579
www.facebook.com/angthongnewstv