เชื่อมโยงหน่วยงาน

มากกว่า...

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ข่าวส่วนราชการ

สวัสดิกการและคุ้มครองแรงงานฯ สังเกตการณ์การประชุมใหญ่สามัญประจำปี สร.ไทยเรยอน

ปรับขนาดตัวอักษร




สสค.อ่างทองสังเกตการณ์การประชุมใหญ่สามัญประจำปี สร.ไทยเรยอน

=========================================================================

เมื่อเวลา 17.00 น. ของวันที่ 29 ม.ค. 58 นางสาวอรอุมา กุณฑโชติ นักวิชาการแรงงานชำนาญการ รักษาราชการแทน สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดอ่างทอง พร้อมด้วยนางสาวนุชนาถ ชูเชิด นักวิชาการแรงงานชำนาญการ ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมใหญ่สามัญประจำปี พ.ศ. 2557 ของสหภาพแรงงานไทยเรอน ณ สโมสรพนักงานบริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) ตำบลโพสะ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง

การประชุมตรวจติมตามงานของคณะทำงานกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคเขตตรวจราชการที่ ๒ จังหวัดสิงห์บุรี

ปรับขนาดตัวอักษร

    เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม  ๒๕๕๗  นายปวิณ  ชำนิประศาสน์  ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง  พร้อมด้วยนายขจรชัย  วัฒนาประยูร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง และหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดอ่างทอง ได้เข้าร่วมประชุม การตรวจติดตามงานของคณะทำงานกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคเขตตรวจราชการที่ ๒ ของรองนายกรัฐมนตรี (พลเอกประวิตร  วงษ์สุวรรณ) โดยมี พลตรีสมพงษ์  แสนสุข ประธานคณะทำงาน   นายพิเชษฐ  ไพบูลย์ศิริ  ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย นางประภาศรี  บุญวิเศษ ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และคณะผู้ตรวจราชการ  ณ ห้องประชุมขุนสรรค์ พันเรือง ชั้น ๕ ศาลากลางจังหวัดสิงห์บุรี  โดยติดตามผลการดำเนินงาน ๓ ประเด็น ได้แก่ ผลการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรมที่ผ่านมาที่ปรากฏผลเป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหา,ผลการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญด้านความมั่นคงของจังหวัด,โครงการที่ประสงค์จะยื่นขอรับการสนันสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๘ งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในอำนาจของรองนายกรัฐมนตรี  พร้อมกับตรวจเยี่ยมศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด และติดตามโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณฯ 
   สำหรับจังหวัดอ่างทอง คณะทำงานฯได้ตรวจติดตามโครงการที่ของรับการสนับสนุนงบประมาณฯ คือโครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ถนนสายคันคลองระบายน้ำ ร.๒ ช สุพรรณ ๓ หมู่ที่ ๔ ตำบลสามโก้ อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง หลังจากนั้นได้ตรวจเยี่ยมศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดอ่างทอง
     




















 



 

ความหมายและสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนในโครงการประกันสังคม

ปรับขนาดตัวอักษร

นางจุฑาทิพ ลักษณา ประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ผู้ประกันตน หมายถึง ผู้ซึ่งจ่ายเงิน

สมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ภายใต้เงื่อนไขของเวลาที่นำส่ง จะก่อให้เกิดสิทธิได้รับประโยชน์จากการเป็นผู้ประกันตน มีอยู่ ๓

ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

                   ๑. ผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ หากจะให้เข้าใจง่าย คือ ผู้ประกันตนประเภทนี้เป็นภาคบังคับต้องขึ้นทะเบียน

เป็นมาตรา ๓๓ ตามที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือ สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ ๑ คนขึ้นไป (มีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๕ ปีบริบูรณ์

และไม่เกิน ๖๐ ปีบริบูลณ์ในวันเข้าทำงาน) ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้างภายใน ๓๐ วัน และหากมีการ

รับลูกจ้างใหม่เข้าทำงานเพิ่ม ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน ๓๐ วันเช่นกัน สำหรับกรณีแจ้งการลาออกหรือแจ้งการเปลี่ยนแปลงของผู้ประกันตน นายจ้างต้องแจ้งแบบหนังสือให้สำนักงานประกันสังคมทราบภายใน ๑๕ วันของเดือนถัดไป

                       สำหรับผู้ประกันตนมาตรา ๓๓ รวมไปถึงลูกจ้างชั่วคราวรายเดือนของส่วนราชการต่างๆ ปัจจุบันเรียกว่า

พนักงานของส่วนราชการ กลุ่มนี้ก็ต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ ด้วย ปัจจุบันผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓

บางคน อาจมีอายุเกิน ๖๐ ปีได้ เป็นเพราะนายจ้างหรือสถานประกอบการนั้นๆ มีการจ้างให้ทำงานต่อเนื่อง ผู้ประกันตนตาม

มาตรา ๓๓ ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ๕% ของรายได้ต่อเดือน เท่ากับนายจ้างก็ส่ง ๕% เหมือนกัน (ในส่วนของ

รัฐบาลส่งเข้ากองทุน ๒.๗๕%) สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ จะได้รับมี ๗ กรณี ดังนี้

                       ๑.๑ กรณีเจ็บป่วย ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ เดือน ภายใน ๑๕ เดือน จะมีสิทธิ

เข้ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ หรือเครือข่ายของสถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือกระบุในบัตร

รับรองสิทธิฯ

                       ๑.๒ กรณีคลอดบุตร ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า ๗ เดือน ภายใน ๑๕ เดือน ผู้ประกันตน

จะมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ ๒ ครั้ง โดยจะได้รับเงินเหมาจ่ายค่าคลอดบุตร ๑๓,๐๐๐ บาทต่อครั้ง หากเป็นผู้ประกันตนหญิงจะได้

รับเงินเหมาจ่าย ๕๐% ของค่าจ้าง ๙๐ วันอีกด้วย

                       ๑.๓ กรณีทุพพลภาพ ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ เดือน ภายใน ๑๕ เดือน แพทย์ที่ขึ้น

ทะเบียนของสำนักงานประกันสังคมตรวจประเมินว่ามีการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงาน ตั้งแต่ ๕๐% ขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทน

การขาดรายได้ ๕๐ % ของค่าจ้างตลอดชีวิต

                            นอกจากนี้ มีสิทธิได้รับค่าฟื้นฟูสมรรถภาพรายละ ๔๐,๐๐๐ บาท พร้อมทั้งได้รับอวัยวะเทียม หรืออุปกรณ์

ในการบำบัดรักษาโรคในบางรายที่มีความจำเป็น

                       ๑.๔ กรณีตาย ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ เดือน ภายใน ๖ เดือน โดยผู้จัดการศพ

จะได้รับค่าทำศพเป็นเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท และทายาทจะได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย หากผู้ประกันตนทำงานมาแล้วตั้งแต่ ๓ ปี

ขึ้นไป แต่ไม่ถึง ๑๐ ปี จะได้รับเงินเท่ากับ ๑ เดือนครึ่งของค่าจ้าง หากทำงานเกิน ๑๐ ปี ก็จะได้รับเงินเท่ากับ ๕ เท่าของค่าจ้าง

รายเดือนอีกด้วย

                       ๑.๕ กรณีสงเคราะห์บุตร ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๒ เดือน ภายใสน ๓๖ เดือน

โดยผู้ประกันตนจะได้รับเงินเหมาจ่ายสงเคราะห์บุตร ๔๐๐ บาทต่อบุตร ๑ คน คราวละไม่เกิน ๒ คน จนบุตรอายุครบ ๖ ปีบริบูรณ์

                       ๑.๖ กรณีชราภาพ ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๘๐ เดือน จะมีสิทธิได้รับบำนาญชราภาพ

โดยต้องมีอายุ ๕๕ ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง กรณีที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ ๑๘๐ เดือน (๑๕ ปี) หากลาออกและ

อายุครบ ๕๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ให้ได้รับบำเหน็จอย่างเดียวจะเลือกรับบำนาญไม่ได้ เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้

                       ๑.๗ กรณีว่างงาน ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ เดือน ภายใน ๑๕ เดือน มี ๒ กรณี

คือ กรณีที่นายจ้างเลิกจ้าง ผู้ประกันตนจะได้รับเงิน ๕๐% ของค่าจ้างครั้งละไม่เกิน ๑๘๐ วัน หรือ ๖ เดือน อีกกรณีหนึ่งคือ ผู้ประกันตนลาออกเอง ก็มีสิทธิได้รับเงิน ๓๐% ของค่าจ้างครั้งละไม่เกิน ๙๐ วัน หรือ ๓ เดือน

 

 

                                                                       - 2 -

                   ๒. ผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ คือ ผู้ประกันตนซึ่งเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ มาแล้วอย่างน้อย ๑๒

เดือน แล้วสมัครใจเป็นผู้ประกันตนต่อภายใน ๖ เดือนนับตั้งแต่วันที่ออกจากการทำงาน เรียกว่าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙

                       ทั้งนี้ ผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเดือนละ ๔๓๒ บาท (คิดจากฐาน

เงินเดือน ๔,๘๐๐ บาท เนื่องจากผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ ไม่มีนายจ้าง จึงต้องส่งเงินทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างรวม ๙%

ไม่รวมเงินสมทบกรณีว่างงาน ๑%) สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ จะได้รับมี ๖ กรณี เหมือนกับผู้ประกันตน

ตามมาตรา ๓๓ ไม่มีสิทธิในกรณีว่างงาน

                   ๓. ผู้ประกันตนตามมาตรา ๔๐ คือ ผู้ประกันตนภาคสมัครใจที่เป็นแรงงานนอกระบบ ประกอบอาชีพอิสระ

และต้องไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๙ ไม่เป็นข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ ต้องเป็นคนไทยอายุ ๑๕ ปี ถึง ๖๐ ปี

บริบูรณ์ สมัครได้ทุกทางเลือก

                       ทางเลือกที่ ๑ เงินสมทบ ๑๐๐ บาท ผู้ประกันตนจ่าย ๗๐ บาท รัฐบาลสมทบ ๓๐ บาท ได้รับสิทธิกรณี

เจ็บป่วยนอนโรงพยาบาลคืนละ ๒๐๐ บาท ไม่เกิน ๓๐ คืนใน ๑ ปี มีเงื่อนไขต้องส่งเงินสมทบ ๓ เดือนภายใน ๔ เดือน นอกจากนี้

ยังได้รับสิทธิกรณีทุพพลภาพต้องส่งเงินสมทบมารแล้ว ๖ เดือนภายใน ๑๐ เดือน และกรณีตายต่องส่งเงินสมทบมาแล้ว ๖ เดือน

ภายใน ๑๒ เดือน

                       ทางเลือกที่ ๒ เงินสมทบ ๑๕๐ บาท ผู้ประกันตนจ่าย ๑๐๐ บาท รัฐบาลสมทบ ๕๐ บาท ได้รับสิทธิเช่นเดียวกับทางเลือกที่ ๑ แต่ได้รับบำเหน็จเดือนละ ๕๐ บาท บวกกับดอกผลอีกด้วย

                       ทางเลือกที่ ๓ เงินสมทบ ๒๐๐ บาท ผู้ประกันตนจ่าย ๑๐๐ บาท รัฐบาลสมทบอีก ๑๐๐ บาท ผู้ประกันตน

จะได้รับบำเหน็จเดือนละ ๒๐๐ บาท กรณีที่ส่งเงินสมทบมาแล้ว ๔๒๐ เดือน (หรือ ๓๕ ปี) มีสิทธิได้รับบำนาญ โดยได้รับขั้นต่ำ

๖๐๐ บาทต่อเดือนตลอดชีวิต

                 สำหรับผู้ที่มีอายุ ๖๕ ปีขึ้นไป สมัครได้เฉพาะทางเลือกที่ ๓ กล่าวคือ ฝากเดือนละ ๑๐๐ บาท แต่ได้คืน

๒๐๐ บาท บวกดอกผลอีกด้วย และจะเปิดรับสมัครในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

                                                                 ---------------------------------

 

สำนักงานประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง

๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๗                

 

ประกันสังคมเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตนที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัดสารเสพติด

ปรับขนาดตัวอักษร

นางจุฑาทิพ ลักษณา ประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า มติคณะกรรมการการแพทย์

โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกันสังคม เห็นชอบเรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตนที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัดสารเสพติดด้วยสารเมทาโดน ให้ได้รับสิทธิครอบคลุมการเบิกจ่าย ดังนี้

                   โรคหรือการประสบอันตรายอันเนื่องจากการใช้สารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด ยกเว้นการให้สาร

เมทาโดน (Methadone Maintenance Treatment : MMT) เพื่อบำบัดรักษาผู้ประกันตนที่ติดสารเสพติดเฉพาะในกลุ่มฝิ่นและ

อนุพันธุ์ฝิ่น โดยจ่ายเป็นค่าสารเมทาโดน (Methadone) แก่สถานพยาบาลที่ให้การบำบัดรักษาผู้ประกันตนในอัตราเท่าที่จ่ายจริง

ไม่เกิน ๓๐ บาทต่อวัน ตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการเบิกค่าสารเมทาโดน ดังนี้

                   ผู้ประกันตน จะต้องเป็นผู้ป่วยติดสารเสพติดในกลุ่มฝิ่นและอนุพันธุ์ของฝิ่น ที่สมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษา ซึ่งหาก

ประสงค์จะใช้สิทธิ ต้องเข้ารับการตรวจรักษาในสถานพยาบาลที่กำหนดและการบำบัดรักษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ที่ให้การรักษาสถานพยาบาล

-          สำนักงานประกันสังคมจ่ายเป็นค่าสารเมทาโดนให้แก่สถานพยาบาลในอัตราไม่เกิน ๓๐ บาทต่อวัน

-          สถานพยาบาลที่มีสิทธิเบิกค่าสารเมทาโดนจะต้องเป็นสถานพยาบาลที่ผ่านการอนุญาตขึ้นทะเบียนเป็น

สถานพยาบาลตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ที่เข้าโครงการใช้สารเมทาโดนระยะยาว

-          สถานพยาบาลบันทึกค่าสารเมทาโดนผ่านโปรแกรม E-Claim โดยใช้โปรแกรมร่วมกับสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ

                 ประกาศเพิ่มสิทธิประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน กรณี

ผู้ประกันตนที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัดสารเสพติดด้วยสารเมทาโดน มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป

                 นางจุฑาทิพฯ กล่าวต่อว่า หากลูกจ้าง ผู้ประกันตนรายใดมีข้อสงสัยสอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง เลขที่ ๒ ถนนเทศบาล ๘ ตำบลย่านซื่อ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง โทร ๐ ๓๕๖๑ ๒๑๙๙ ต่อ ๑๑๑-๑๑๕

ในวันและเวลาราชการ หรือ สายด่วน ๑๕๐๖ ได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับ

หน่วยบริการที่ให้การบำบัดรักษาด้วยสารเมทาโดน ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ ๑๑๖๕

                                                                ---------------------------------

 

สำนักงานประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง

๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๗                

โครงการ "ครอบครัวไทย รู้ รัก สามัคคี"

ปรับขนาดตัวอักษร

    เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗   นายปวิณ  ชำนิประศาสน์  ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมกล่าวอาศิรวาท ในโครงการ "ครอบครัวไทย รู้ รัก สามัคคี" สัมมนา เรื่อง ครอบครัว คือ โรงเรียนแห่งความรักและสันติภาพ โดยมีพลเอกเทอดศักดิ์ มารมย์ ประธานมูลนิธิสหพันธ์สันติภาพสากล (ประเทศไทย) เป็นผู้มอบโล่ที่ระลึกเพื่อแสวงความขอบคุณแด่ นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง พร้อมทั้งนายแพพทย์เล็ก ทวีเติมสกุล รองประธานสหพันธ์สันติภาพสากล ภูมิภาคเอเซีย เป็นผู้กล่าวปาฐกถาพิเศษ ร่วมด้วยนายสมยศ  เกษศรีสังข์ ผู้อำนายการฝ่ายการศึกษาสหพันธ์ครอบครัวฯเป็นผู้บรรยาให้ความรู้ เรื่อง ครอบครัว คือ โรงเรียนแห่งความรักและสันติภาพ ในครั้งนี้
   การสัมมนามีผู้เข้าฟังกันหลายหน่วยงาน ทั้งผู้นำหน่วยงานของภาครัฐ ภานคเอกชน ผู้นำชุมชน นักเรียน นักศึกษา  โดยเริ่มต้นจากสถาบันครอบ
















 

15181470
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่ผ่านมา
เฉพาะเดือนนี้
เดือนที่ผ่านมา
ทั้งหมด
4168
16757
37858
15116648
32241
170375
15181470

IP 3.149.240.244
Server Time: 2024-07-04 05:29

สำหรับเจ้าหน้าที่

ปรับขนาดตัวอักษร

Copyright © 2015 จังหวัด อ่างทอง
จัดทำโดย กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดอ่างทอง ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
โทร.0-3561-1235 , 0-3561-4912  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. / This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.