สาธารณสุขอ่างทองเข้ม ออกตรวจผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ผิดกฎหมาย ในจังหวัดอ่างทอง
- รายละเอียด
- เผยแพร่เมื่อ วันจันทร์, 28 พฤศจิกายน 2554 09:03
- เขียนโดย Super User
- ฮิต: 1376
เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2554 เจ้าหน้าที่กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง ได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบเครื่องสำอางผิดกฏหมายในเขตอำเภอเมืองอ่างทอง สืบเนื่องมาจากได้รับข้อมูลจากกลุ่มส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น (คบ.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ส่งข้อมูลผลวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เก็บจากด้านอาหารและยา ซึ่งพบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีปัญหาจำนวน 3 รายการ โดยสินค้าดังกล่าวนำเข้าจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดย บริษัท ยูเนี่ยน บิวตี้ จำกัด โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ลำดับ ชื่อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เลขที่จดแจ้ง ผลวิเคราะห์ รุ่นการผลิต วันหมดอายุ สรุปผล
1 Insigna Ionic Straighten 10-2-5320468 พบ Thioglycolic - - ไม่มีสาร
Cream 1 Strong acid 7.07% w/w Thioglycolic acid
ในสูตรที่จดแจ้ง
จัดเป็นเครื่องสำอาง
ปลอม
2 Insigna Ionic Straighten 10-2-531-9502 พบ Thioglycolic - - ไม่มีสาร
Cream 2 Medium acid 7.24% w/w Thioglycolic acid
ในสูตรที่จดแจ้ง
จัดเป็นเครื่องสำอาง
ปลอม
3 Insigna Per Cream & 10-2-531-7462 พบ Thioglycolic 1001 02SEP ไม่มีสาร
Neutralizer acid 7.42% w/w 2013 Thioglycolic acid
ในสูตรที่จดแจ้ง
จัดเป็นเครื่องสำอาง
ปลอม
ผลจากการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ยี่ห้อ Insigna ปรากฎว่าไม่พบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจำหน่ายในตัวเมืองจังหวัดอ่างทอง และนอกจากนี้ยังได้ตรวจสอบเครื่องสำอางที่ผิดกฎหมาย ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ปรากฏว่าไม่พบเช่นเดียวกัน ในการนี้ได้เน้นให้ร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง นำเครื่องสำอางที่ไม่ผิดกฎหมายมาขาย โดยหากไม่แน่ใจว่าเป็นเครื่องสำอางที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้จากเวปไซด์ http://e-cosmetic.fda.moph.go.th/frontend/theme_4/dangerous_category.php?Submit =Clear แต่หากไม่สามารถดูได้จากเวปไซด์ สามารถตรวจดูได้จากแผ่นพับประชาสัมพันธ์ และหากไม่มีแผ่นพับ หรือไม่แน่ใจว่าเครื่องสำอางที่ขายอยู่ผิดกฎหมายหรือไม่ สามารถโทรสอบถามได้ที่กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง หมายเลขโทรศัพท์ 035-614252 หากผู้ขายรายใดนำเครื่องสำอางที่ผิดกฎหมายมาขาย และทางเจ้าหน้าที่ตรวจพบ จะดำเนินคดีทันที โดยหากผู้ขาย ขายเครื่องสำอางที่ผสมสารห้ามใช้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ และผู้ขายเครื่องสำอางที่ไม่มีฉลากภาษาไทย หรือแสดงฉลากไม่ถูกต้อง มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ และหากประชาชนท่านใดสนใจข้อมูลเครื่องสำอางที่พบสารห้ามใช้ สามารถโทรติดต่อได้ที่กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง หมายเลขโทรศัพท์ 035-614252 ในวันและเวลาราชการ
วิธีการเลือกซื้อเครื่องสำอาง
การเลือกซื้อเครื่องสำอางให้เลือกซื้อที่มีฉลากภาษาไทย และมีรายละเอียดครบถ้วน ดังนี้
1. ชื่อเครื่องสำอางและชื่อทางการค้า (ต้องมีขนาดใหญ่กว่าข้อความอื่น)
2. ประเภทของเครื่องสำอาง
3. ชื่อของสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสม (เรียงจากมากไปหาน้อย)
4. วิธีใช้
5. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต และ ผู้นำเข้า
6. ปริมาณสุทธิ
7. เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต
8. เดือน ปี ที่ผลิต หรือ ปี เดือน ที่ผลิต
9. เดือน ปี ที่หมดอายุ หรือ ปี เดือนที่หมดอายุ กรณีที่มีอายุการใช้งานน้อยกว่า 30 เดือน
10. คำเตือน (ถ้ามี)
11. เลขที่ใบรับแจ้ง
12. ชื่อเครื่องสำอางและชื่อทางการค้า (ต้องมีขนาดใหญ่กว่าข้อความอื่น)
13. ประเภทของเครื่องสำอาง
14. ชื่อของสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสม (เรียงจากมากไปหาน้อย)
15. วิธีใช้
16. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต และ ผู้นำเข้า
17. ปริมาณสุทธิ
18. เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต
19. เดือน ปี ที่ผลิต หรือ ปี เดือน ที่ผลิต
20. เดือน ปี ที่หมดอายุ หรือ ปี เดือนที่หมดอายุ กรณีที่มีอายุการใช้งานน้อยกว่า 30 เดือน
21. คำเตือน (ถ้ามี)
22. เลขที่ใบรับแจ้ง
นอกจากนี้จะต้องเลือกซื้อ เครื่องสำอางที่ไม่มีสารห้ามใช้เป็นส่วนผสมเนื่องจากปัจจุบัน พบว่าประชาชนมีความใส่ใจกับสุขภาพ และดูแลตัวเองดีมากขึ้น เพื่อให้ร่างกายแลดูสุขภาพดี ผิวพรรณขาวสดใส เปล่งปลั่ง ดังนั้น จึงทำให้มีผู้ประกอบการหัวใส คิดที่จะผลิตเครื่องสำอางที่เมื่อใช้แล้ว สามารถทำให้ผิวพรรณขาวผ่อง เปล่งปลั่ง แลดูอ่อนกว่าวัยเพื่อตอบสนองต่อความต้องการแก่สาวๆ ที่อยากจะขาวใสไร้ที่ติ โดยกลุ่มของผู้ประกอบการ ได้ทำการผสมเครื่องสำอางที่ผสมสารห้ามใช้ ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ ดังนี้
1. สารประกอบของปรอท
- ทำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลง เกิดพิษสะสมของปรอท ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ และไตอักเสบ
2. ไฮโดรควิโนน
- ทำให้เกิดการระคายเคือง เกิดจุดด่างขาวที่หน้า ผิวหน้าดำ เป็นฝ้าถาวรรักษาไม่หาย
3. กรดเรทิโนอิก (กรดวิตามินเอ)
- ทำให้หน้าแดง แสบร้อนรุนแรง เกิดการอักเสบ ผิวหน้าลอกอย่างรุนแรง และเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
*หากผู้บริโภคท่านใด มีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง หรือต้องการแจ้งข้อมูล สามารถติดต่อมาได้ที่
กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง
122 ถนนโพธิ์พระยา-ท่าเรือ หมู่ 4 ตำบลบ้านอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง 14000
โทรศัพท์ (035) – 614 - 252 หรือ (089) -801- 3950
----------------------------------------------------------------------------------------------
(ขอขอบคุณ แหล่งข้อมูล : จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข)