วันที่ 21 มิถุนายน 2561 เวลา 10.45 น. นาย วีร์รวุทธ์ ปุตระเศรณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “ เทศกาลกินผัดไทย ไหว้พระสมเด็จเกษไชโย ” และงาน “รำลึก 146 ปี สมเด็จพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )” ประจำปี 2561 ณ บริเวณโดมอเนกประสงค์ วัดไชโยวรวิหาร อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง โดยมี ว่าที่ร้อยโทอรรถชล ทรัพย์ทวี นายอำเภอไชโย นาย อรรถพล วรรณกิจ ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานลพบุรี ข้าราชการ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ประชาชน และนักท่องเที่ยว เข้าร่วมกิจกรรมในงาน
ด้าน นาย วีร์รวุทธ์ กล่าวว่า วัดไชโยวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดอ่างทอง โดยบริเวณรอบ ๆ วัดจะมีร้านขายอาหารเป็นจำนวนมาก และทุกร้านจะมีเมนูเด็ด คือ “ ผัดไทย ” ทางจังหวัดอ่างทอง จึงร่วมกับวัดไชโยวรวิหาร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานลพบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดงาน “ เทศกาลกินผัดไทย ไหว้พระสมเด็จเกษไชโย ” และงานรำลึก 146 ปี สมเด็จพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ประจำปี 2561 เพื่อเป็นการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดอ่างทอง ชวนให้ผู้สนใจภายในท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียง เดินทางเข้ามาในช่วงของการจัดงาน พร้อมทั้งยังช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้เข้ามาสู่ท้องถิ่นต่อไป
สำหรับงาน “ เทศกาลกินผัดไทย ไหว้พระสมเด็จเกษไชโย ” และงานรำลึก 146 ปี สมเด็จพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ประจำปี 2561 จัดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 20 – 24 มิถุนายน 2561 ณ วัดไชโยวรวิหาร อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง มีการประกวดแข่งขันผัดไทย จำนวน 21ทีม แข่งขันผัดไทยเลิศรส สำหรับประกวดผัดไทยเลิศรสได้รางวัลที่ 1 ได้แก่ ตำบลไชยภูมิ รองชนะเลิศอันดับที่ 1 ตำบลเทวราช แลรองชนะเลิศอันดับที่ 3อำเภอพรหมบุรี และยังจำหน่ายผัดไทย จานละ 1 บาท ยังมีกิจกรรมแข่งขันกินผัดไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท (แยกชาย/หญิง) ประเภทกินเร็ว ประเภทกินจุ ลิ้มรสอาหารถิ่นต้องห้ามพลาด กว่า 10 ร้าน ชมการแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับสมเด็จพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ณ เวทีกลางแม่น้ำเจ้าพระยา พิธีเจริญพระพุทธมนต์ บำเพ็ญกุศล คล้ายวันมรณภาพ 146 ปี จำหน่ายผัดไทยเลิศรส และจำหน่ายสินค้าชุมชน
โดยหลังจาก นาย วีร์รวุทธ์ ปุตระเศรณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง กล่าวเปิดงานเสร็จ ได้ร่วมกับนายอำเภอไชโย และผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานลพบุรี พร้อมโชว์ฝีมือปรุงผัดไทยกระทะแรก โดยมีลูกมือคอยนำวัตถุดิบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องปรุง ถั่วงอก เต้าหู้ ไชโป๊ว เส้นผัดไทย และต้นหอม คลุกเคล้ารวมกันจนเป็นผัดไทยกระทะแรกสูตรเด็ดของผู้ว่าฯ ซึ่งทางท่านผู้ว่าฯ ได้ตักใส่ภาชนะที่เตรียมไว้พร้อมนำไปจำหน่ายให้กับประชาชน จานละ 1 บาท โดยก่อนที่จะนำไปแจกจ่ายท่านผู้ว่าฯ และกองเชียร์ได้ลองลิ้มชิมรส ซึ่งทั้งหมดรับประกันความอร่อยแบบเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์
วันที่ 1 มิถุนายน 2561 เวลา 15.00 น. นายวีร์รวุทธ์ ปุตระเศรณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมการวาดรูปการละเล่นแบบไทย ที่ผนังคันกั้นน้ำคอนกรีต หน้าวัดท่าสุทธาวาส หมู่ที่ 2 ต.บางเสด็จ อ.ป่าโมก โดยมีนายอำเภอป่าโมก ผู้จัดการ และผู้ช่วยผู้จัดการไปรษณีย์ เขต 1 พระนครศรีอยุธยา นายก องค์การบริหารส่วนตำบลบางเสด็จ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ต.บางเสด็จ ให้การต้อนรับ
วันที่ 17 พฤษภาคม 2561 เวลา 8.30 น. ชาวบ้านน้ำตาซึมหลังปรับเปลี่ยนพื้นที่นาข้าวทำเป็นไร่อ้อย โรงงานน้ำตาลชื่อดังเข้ามาให้การสนับสนุน แต่เกิดหยุดรับซื้อทำให้ชาวไร่อ้อยไร้ทางออกจนรวมตัวเข้าร้องขอความช่วยเหลือ ที่บริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลบ้าน ต.บ้านพราน อ.แสวงหา จ.อ่างทอง ซึ่งแต่ละคนมีหนี้สินค้างค่าเช่าที่นา ส่วนไร่อ้อยก็ขายไม่ได้ไม่รู้จะทำอย่างไร ไร้ทางออก จะโค่นทิ้งทำนาก็เสียเงินค่าลงทุนไปแล้วเป็นหนี้สินจำนวนมาก หลายรายต้องหลั่งน้ำตาที่เปลี่ยนการทำนามาทำไร่อ้อย เห็นทางโรงงานส่งเสริมแต่ปล่อยทิ้งกลางทาง
นายวีร์รวุทธ์ ปุตระเศรณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง หลังได้รับทราบความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนชาวไร่ จึงได้ทำการประสานหน่วยงานราชการ อำเภอแสวงหา ตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครอง รวมทั้งพาณิชย์จังหวัดอ่างทอง และทางเกษตรจังหวัดอ่างทอง เข้าร่วมประชุมเร่งด่วน เพื่อหาทางแก้ไข พร้อมกับเตรียมประสานกับทางเจ้าของโรงงานน้ำตาลชื่อดัง เพื่อทำการซื้อผลผลิตต้นอ้อยของเกษตรกรที่ยังขายไม่ได้
ด้านนางดอกแก้ว ยิ้มเป็นสุข อายุ 55 ปี อยู่บ้านเลขที่ 30 หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านพราน เปิดเผยทั้งน้ำตาว่า ตนเองทำนาแล้วเปลี่ยนมาทำไร่อ้อย 15 ไร่ หลังครอบครัวเห็นทางโรงงานน้ำตาลดังส่งเสริม แต่ปัจจุบันต้องลำบากมากกว่าจะขายได้ โดยทางโรงงานได้เก็บผลผลิตไป จำนวน 7 ไร่ ส่วนที่เหลือยังทำอะไรไม่ได้เลย เพราะทางโรงงานแจ้งว่าต้องหยุดก่อนเนื่องจากรถไม่มีมาขนอ้อยเข้าโรงงาน ที่เหลือก็ต้องทิ้งไปทำให้เดือดร้อนขาดทุนอย่างหนัก ตนเองทำไร่อ้อย 15ไร่ แต่ขายได้เพียง 7 ไร่ ที่เหลือก็ต้องทิ้งไปไม่ทีทางออกจำต้องให้ทางหน่วยงานช่วยเหลือ
ส่วนทางด้าน นางสาวใจ ครองตน อายุ 55 ปี กล่าวว่า ตนเองทำไร่อ้อย จำนวน 20 ไร่ หลังโรงงานน้ำตาลดังให้การส่งเสริมหวังลืมตาอ้าปาก แต่ในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตต้องทุกข์หนัก ทางโรงงานให้คนงามมาตรวจดูแล้วบอกให้เตรียมตัดอ้อย โดยต้องเผาใบก่อนแล้วค่อยตัดอ้อยทั้งไร่ แต่เมื่อเผาใบอ้อยไปหมดแล้วทางโรงงานไม่ยอมมาตัด ตนเองต้องเสียค่าจ้างคนงานตัดเอง เสียเงินค่าตัดเองและยังไม่รู้จะไปขายให้ใคร ทำให้อ้อยเสียเริ่มขึ้นราจำใจต้องตัดให้หมดทั้ง 20 ไร่ เสียเงินไปกว่าสี่หมื่นบาท โดยไม่ได้อะไรขึ้นมาเลย เตรียมทำนาต่อหวังขายข้าวยังมีโรงสีรับซื้อถึงราคาจะตกต่ำยังดีกว่าทำไร่อ้อยแล้วไร้โรงงานรับซื้อ
ด้านนายวินัย บุญศรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพราน เปิดเผยว่า มีโรงงานน้ำตาลชื่อดังในจังหวัดสิงห์บุรี มาส่งเสริมการปลูกอ้อย พร้อมรับซื้อเข้าโรงงาน โดยมีเกษตรในจังหวัดอ่างทอง ประมาน 200 คน ได้หันไปทำไร่อ้อย และในช่วงนี้โรงงานน้ำตาลดังได้ปิดหีบอ้อยหยุดการรับซื้อ ทำให้เกษตรกรชาวนาที่หันมาปลูกอ้อยต้องได้รับความเดือดร้อน ไม่มีที่ขายผลผลิตมีหนี้สินรุงรังไร้ทางออก จำนวน 240 กว่าราย จึงอยากวอนรัฐบาบาลให้การช่วยเหลือ
เนื้อหาอื่นๆ...
- ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายกเหล่ากาชาดจังหวัด ลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง
- ผู้ว่าฯ พาไปทำบุญ ณ วัดศรีมหาโพธิ
- ผู้ว่าฯ มอบเงินและเครื่องอุปโภคบริโภคในโครงการช่วยเหลือคนตาบอดที่ได้รับผลกระทบ COVID-19
- ผู้ว่าฯ ร่วมสัมมนาทางวิชาการและวิพากษ์ "ข้อมูลเศรษฐกิจเชิงพื้นที่กับการบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด"