เชื่อมโยงหน่วยงาน

มากกว่า...

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ปรับขนาดตัวอักษร

สำนักงานประกันสังคม เตรียมความพร้อมการขยายความคุ้มครองประกันสังคมมาตรา ๔๐

ทางเลือกที่ ๓ ซึ่งภารกิจให้ความคุ้มครองประกันสังคมแก่แรงงาน ทั้งในระบบและนอกระบบ เพื่อให้มีหลักประกัน

คุณภาพชีวิตที่ดี จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้มีการสำรวจข้อมูลแรงงานนอกระบบประจำปี ๒๕๕๕

มีจำนวนแรงงานนอกระบบทั่วประเทศทั้งสิ้น ๒๔.๗๙ ล้านคนเศษ จากข้อมูลดังกล่าวเห็นได้ว่า ประเทศไทย

มีแรงงานนอกระบบจำนวนมาก ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญและต้องการให้แรงงานนอกระบบมีหลักประกัน

ความมั่นคงในการดำรงชีวิตที่ดี เพื่อสนองนโยบาย กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม ได้เร่งขยาย

ความคุ้มครองประกันสังคมมาตรา ๔๐ ไปสู่แรงงานนอกระบบให้ทั่วถึง ซึ่งขณะนี้แรงงานนอกระบบเป็นผู้ประกันตน

มาตรา ๔๐ แล้วประมาณ ๑.๕ ล้านคนเศษ และเพื่อเป็นการจูงใจให้แรงงานนอกระบบสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน

มาตรา ๔๐ เพิ่มมากขึ้น สำนักงานประกันสังคมจึงได้ปรับปรุงสิทธิประโยชน์ประกันสังคมมาตรา ๔๐ จากเดิม

๒ ทางเลือก เพิ่มเป็น ๓ ทางเลือก ซึ่งจะมีผลใช้บังคับในวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๖ โดยสิทธิประโยชน์ประกันสังคม

มาตรา ๔๐ ทางเลือกที่ ๓ มีสาระสำคัญ คือ ผู้ประกันตนจ่าย ๑๐๐ บาท และรัฐบาลสมทบเพิ่มอีก ๑๐๐ บาทต่อเดือน โดยผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ ซึ่งเชื่อว่าจะสอดคล้องกับความต้องการของแรงงานนอกระบบ

อีกจำนวนมาก และน่าจะช่วยจูงใจให้แรงงานนอกระบบในการชำระเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนตามมาตรา ๔๐

เพิ่มมากขึ้น ซึ่งในปี ๒๕๕๗ ได้กำหนดเป้าหมายให้แรงงานนอกระบบสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา ๔๐ ไม่น้อยกว่า

๑.๗ ล้านคน

               อย่างไรก็ตาม ผู้ประกันตนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์งานประกันสังคม สอบถามข้อมูล

เพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง เลขที่ ๒ ถนนเทศบาล ๘ ตำบลย่านซื่อ อำเภอเมืองอ่างทอง

จังหวัดอ่างทอง โทรศัพท์หมายเลข ๐ ๓๕๖๒ ๕๑๔๖ ต่อ ๑๓๒-๑๓๓ ในวันและเวลาราชการ หรือ โทรสายด่วน

๑๕๐๖ ได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ

 

------------------------

 

 

 

 

                                                                                                                                          สำนักงานประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง

                                                                                                                                                     ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๖

ปรับขนาดตัวอักษร

นางนันทิยา พัวพันธุ์ ประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยด้วยโรค

ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ในระบบประกันสังคมแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือกลุ่มผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังก่อน

เป็นผู้ประกันตน จะได้รับในอัตราครั้งละไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท และกลุ่มผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังหลังจากเป็น

ผู้ประกันตนแล้ว จะได้รับในอัตราครั้งละ ๑,๕๐๐ บาท ซึ่งอาจไม่เพียงพอกับความเป็นจริงสำหรับสถานพยาบาล

บางแห่ง ซึ่งผู้ประกันตนบางรายต้องรับภาระในการออกค่าใช้จ่ายเอง อย่างไรก็ตาม สำนักงานประกันสังคม

ได้มีการเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมแก่ผู้ประกันตนที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

โดยให้สิทธิรับค่าฟอกเลือดฯ ในอัตรา ๑,๕๐๐ บาท/ครั้ง และไม่เกิน ๔,๕๐๐ บาท/สัปดาห์ (เพิ่มจำนวนครั้ง

ของการฟอกเลือด) รวมทั้งขยายสิทธิสำหรับผู้ประกันตนที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมาก่อนการเป็น

ผู้ประกันตน โดยให้มีสิทธิได้รับค่าฟอกเลือดฯ ในอัตรา ๑,๐๐๐ บาท/ครั้ง และไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาท/ครั้ง

ซึ่งอัตราดังกล่าวอ้างอิงตามอัตราค่าฟอกเลือดฯ ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยกลุ่ม

ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายและได้รับการฟอกเลือดฯ มาก่อนเดือนตุลาคม ๒๕๕๑ จะต้องร่วมจ่าย

ค่าฟอกเลือดครั้งละ ๕๐๐ บาท และ สปสช.จะสนับสนุนค่าฟอกเลือดฯ ให้ครั้งละ ๑,๐๐๐ บาท ซึ่งผู้ประกันตน

ที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่มีสิทธิรับบริการทางการแพทย์โดยการบำบัดทดแทนไตต้องเป็นผู้ป่วย

โรคไตวายเรื้อรังที่มีหน้าที่การทำงานของไตเสียไปอย่างถาวรเกินกว่าร้อยละ ๙๕ โดยใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณา

จากผลเลือด ผลปัสสาวะ และขนาดของไต ยกเว้นกรณีปลูกถ่ายไตต้องไม่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมาก่อน

การเป็นผู้ประกันตนคราวที่ยื่นขอใช้สิทธิ ซึ่งในการพิจารณาอนุมัติสิทธิฯ แต่ละครั้งเป็นไปด้วยความรอบคอบ

โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแพทย์หรือผู้ที่คณะกรรมการการแพทย์มอบหมายก่อนทุกราย

โดยผู้ประกันตนสามารถยื่นคำขอรับสิทธิการบำบัดทดแทนไตต่อสำนักงานประกันสังคมจังหวัดที่ท่านประสงค์

จะใช้สิทธิ

               นางนันทิยาฯ กล่าวต่อว่า ในการนี้ สำนักงานประกันสังคม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

และกรมบัญชีกลาง ซึ่งทั้ง ๓ กองทุน มีแนวทางการบูรณาการสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

โดยมีการพิจารณากำหนดอัตราค่าฟอกเลือดฯ ให้มีความเหมาะสมและเท่าเทียมในแต่ละกองทุน ซึ่งเป็นแนวทาง

หนึ่งที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาร่วมกัน เพื่อให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย สามารถเข้าถึงการบำบัดทดแทนไต

ได้อย่างเสมอภาคและเป็นธรรม หากผู้ประกันตนรายใดมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง เลขที่ ๒ ถนนเทศบาล ๘ ตำบลย่านซื่อ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง โทรศัพท์หมายเลข

๐ ๓๕๖๒ ๕๑๔๖ ต่อ ๑๑๑-๑๑๕ ในวันและเวลาราชการ หรือโทรสายด่วน ๑๕๐๖ ได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ

 

------------------------

 

                                                                                                                                          สำนักงานประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง

                                                                                                                                                      ๖ เมษายน ๒๕๕๖

ปรับขนาดตัวอักษร

นางนันทิยา พัวพันธุ์ ประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคมให้ความคุ้มครอง

การรักษาพยาบาลแก่ผู้ประกันตนครอบคลุมทุกโรค รวมถึงโรคมะเร็ง ผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยเป็นโรคมะเร็ง จะได้รับ

การรักษาพยาบาลตามมาตรฐานการรักษาของราชวิทยาลัยภายใต้การกำกับดูแลของแพทยสภา หากสถานพยาบาล

ตามบัตรรับรองสิทธิไม่มีศักยภาพในการรักษาพยาบาล แต่สถานพยาบาลจะต้องมีระบบการส่งตัวไปรักษาใน

สถานพยาบาลระดับสูง ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมมีกลไกในการกำกับตรวจสอบคุณภาพการรักษาของสถาน

พยาบาลอย่างเข้มงวด โดยคณะที่ปรึกษาทางการแพทย์ และการพยาบาล และมีบทลงโทษสำหรับสถานพยาบาล

ที่ให้การรักษาผู้ประกันตนไม่ได้ตามมาตรฐานหรือปฏิเสธการรักษาผู้ประกันตน ตั้งแต่ตักเตือน ลดศักยภาพ

จนถึงขั้นยกเลิกสัญญา หากกรณีสถานพยาบาลให้การรักษาผู้ประกันตนไม่เป็นไปตามมาตรฐานทางการแพทย์

สำนักงานฯ จะส่งเรื่องให้แพทย์สภาดำเนินการ นอกจากนี้ สำนักงานประกันสังคมยังมีระบบการชดเชยค่ารักษา

พยาบาลเฉพาะสำหรับโรคมะเร็ง โดยให้สถานพยาบาลขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง เพื่อให้

ผู้ประกันตนได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นประโยชน์ในการติดตามข้อมูลการรักษาพยาบาลของ

ผู้ประกันตน รวมทั้ง ยังทำให้สถานพยาบาลได้รับการชดเชยอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับภาระค่าใช้จ่าย ดังนั้น

ขอให้ผู้ประกันตนมั่นใจในระบบบริการทางการแพทย์ของประกันสังคมได้ว่า ไม่ด้อยไปกว่าระบบการรักษา

พยาบาลของกองทุนประกันสุขภาพอื่น

               นางนันทิยาฯ กล่าวต่อว่า หากผู้ประกันตนรายใดมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามได้ที่

สำนักงานประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง เลขที่ ๒ ถนนเทศบาล ๘ ตำบลย่านซื่อ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง โทรศัพท์หมายเลข ๐ ๓๕๖๒ ๕๑๔๖ ต่อ ๑๑๑-๑๑๕ ในวันและเวลาราชการ หรือโทรสายด่วน ๑๕๐๖ ได้ทุกวัน

ไม่เว้นวันหยุดราชการ

 

------------------------

 

                                                                                                                                           สำนักงานประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง

                                                                                                                                                       ๖ เมษายน ๒๕๕๖

ปรับขนาดตัวอักษร

นางนันทิยา พัวพันธุ์ ประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง เผยมติคณะกรรมการประกันสังคม เห็นชอบ

ขยายระยะเวลาการลดอัตราเงินสมทบต่อไปอีก ๑ ปี โดยให้จัดเก็บเงินสมทบฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง

ในอัตราฝ่ายละร้อยละ ๔ ลดลงจากเดิมฝ่ายละร้อยละ ๑ เพื่อเป็นการช่วยเหลือนายจ้างที่รับภาระจากค่าจ้าง

ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในปี ๒๕๕๖ มีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน ๓๐๐ บาททั่วประเทศ ส่งผลให้นายจ้างต้องรับ

ภาระต้นทุนจากค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น (โดยลดในส่วนของ ๔ กรณีแรก ได้แก่ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ และ

เสียชีวิต จากเดิมจ่ายในอัตราฝ่ายละร้อยละ ๑.๕ เหลือฝ่ายละร้อยละ ๐.๕ ) ส่วนเงินสมทบกรณีชราภาพ

สงเคราะห์บุตร และกรณีว่างงาน จัดเก็บเงินสมทบในอัตราเดิมคือฝ่ายละร้อย ๓.๕ ทั้งนี้ ในส่วนของรัฐบาล

ยังคงจ่ายเงินสมทบในอัตราเดิมคือร้อยละ ๒.๗๕ สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ เดิมจ่ายในอัตราร้อยละ ๙

ของฐานค่าจ้าง ๔,๘๐๐ บาท ลดลงเหลืออัตราร้อยละ ๗ ของฐานค่าจ้าง ๔,๘๐๐ บาท ในปี ๒๕๕๖ คือจ่ายเงิน

สมทบเดือนละ ๓๓๖ บาท

               นางนันทิยาฯ กล่าวต่อว่า การลดอัตราเงินสมทบดังกล่าว ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์

เหมือนเดิมทุกกรณี และไม่มีผลประทบต่อกองทุนประกันสังคม ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลได้ที่

สำนักงานประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง เลขที่ ๒ ถนนเทศบาล ๘ ตำบลย่านซื่อ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง โทรศัพท์หมายเลข ๐ ๓๕๖๒ ๕๑๔๖ ต่อ ๑๔๑-๑๔๔ ในวันและเวลาราชการ หรือ โทรสายด่วน ๑๕๐๖ ได้ทุกวัน

ไม่เว้นวันหยุดราชการ

 

------------------------

 

 

                                                                                                                                           สำนักงานประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง

                                                                                                                                                     ๖ เมษายน ๒๕๕๖

15182895
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่ผ่านมา
เฉพาะเดือนนี้
เดือนที่ผ่านมา
ทั้งหมด
5593
16757
39283
15116648
33666
170375
15182895

IP 18.188.8.188
Server Time: 2024-07-04 07:30

สำหรับเจ้าหน้าที่

ปรับขนาดตัวอักษร

Copyright © 2015 จังหวัด อ่างทอง
จัดทำโดย กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดอ่างทอง ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
โทร.0-3561-1235 , 0-3561-4912  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. / This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.