เชื่อมโยงหน่วยงาน

มากกว่า...

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ปรับขนาดตัวอักษร

วันที่ 9 ส.ค. 54 กระทรวงแรงงานได้มอบหมายให้ นายทวีศักดิ์  สาลีสังข์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยนายวินัย  ลู่วิโรจน์ ผู้ตรวจราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, นางณัฐยา อนุดิษฐ์ ผู้ตรวจราชการกรมจัดหางาน และนางอบทิพย์  พุกกะวรรณะ ผู้ตรวจราชการสำนักงานประกันสังคม เดินทางมาตรวจราชการจังหวัดอ่างทอง เพื่อตรวจติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัด  ตามแผนการตรวจราชการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ในรอบการตรวจราชการที่ 3 และประชุมร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงาน ณ ห้องประชุมโพธิ์ทอง ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง 

วันวิสาข์  จันทวร / ข่าวalt 

ปรับขนาดตัวอักษร

นางจุฑาทิพ ลักษณา ประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ผู้ประกันตน หมายถึง ผู้ซึ่งจ่ายเงิน

สมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ภายใต้เงื่อนไขของเวลาที่นำส่ง จะก่อให้เกิดสิทธิได้รับประโยชน์จากการเป็นผู้ประกันตน มีอยู่ ๓

ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

                   ๑. ผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ หากจะให้เข้าใจง่าย คือ ผู้ประกันตนประเภทนี้เป็นภาคบังคับต้องขึ้นทะเบียน

เป็นมาตรา ๓๓ ตามที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือ สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ ๑ คนขึ้นไป (มีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๕ ปีบริบูรณ์

และไม่เกิน ๖๐ ปีบริบูลณ์ในวันเข้าทำงาน) ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้างภายใน ๓๐ วัน และหากมีการ

รับลูกจ้างใหม่เข้าทำงานเพิ่ม ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน ๓๐ วันเช่นกัน สำหรับกรณีแจ้งการลาออกหรือแจ้งการเปลี่ยนแปลงของผู้ประกันตน นายจ้างต้องแจ้งแบบหนังสือให้สำนักงานประกันสังคมทราบภายใน ๑๕ วันของเดือนถัดไป

                       สำหรับผู้ประกันตนมาตรา ๓๓ รวมไปถึงลูกจ้างชั่วคราวรายเดือนของส่วนราชการต่างๆ ปัจจุบันเรียกว่า

พนักงานของส่วนราชการ กลุ่มนี้ก็ต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ ด้วย ปัจจุบันผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓

บางคน อาจมีอายุเกิน ๖๐ ปีได้ เป็นเพราะนายจ้างหรือสถานประกอบการนั้นๆ มีการจ้างให้ทำงานต่อเนื่อง ผู้ประกันตนตาม

มาตรา ๓๓ ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ๕% ของรายได้ต่อเดือน เท่ากับนายจ้างก็ส่ง ๕% เหมือนกัน (ในส่วนของ

รัฐบาลส่งเข้ากองทุน ๒.๗๕%) สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ จะได้รับมี ๗ กรณี ดังนี้

                       ๑.๑ กรณีเจ็บป่วย ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ เดือน ภายใน ๑๕ เดือน จะมีสิทธิ

เข้ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ หรือเครือข่ายของสถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือกระบุในบัตร

รับรองสิทธิฯ

                       ๑.๒ กรณีคลอดบุตร ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า ๗ เดือน ภายใน ๑๕ เดือน ผู้ประกันตน

จะมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ ๒ ครั้ง โดยจะได้รับเงินเหมาจ่ายค่าคลอดบุตร ๑๓,๐๐๐ บาทต่อครั้ง หากเป็นผู้ประกันตนหญิงจะได้

รับเงินเหมาจ่าย ๕๐% ของค่าจ้าง ๙๐ วันอีกด้วย

                       ๑.๓ กรณีทุพพลภาพ ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ เดือน ภายใน ๑๕ เดือน แพทย์ที่ขึ้น

ทะเบียนของสำนักงานประกันสังคมตรวจประเมินว่ามีการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงาน ตั้งแต่ ๕๐% ขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทน

การขาดรายได้ ๕๐ % ของค่าจ้างตลอดชีวิต

                            นอกจากนี้ มีสิทธิได้รับค่าฟื้นฟูสมรรถภาพรายละ ๔๐,๐๐๐ บาท พร้อมทั้งได้รับอวัยวะเทียม หรืออุปกรณ์

ในการบำบัดรักษาโรคในบางรายที่มีความจำเป็น

                       ๑.๔ กรณีตาย ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ เดือน ภายใน ๖ เดือน โดยผู้จัดการศพ

จะได้รับค่าทำศพเป็นเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท และทายาทจะได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย หากผู้ประกันตนทำงานมาแล้วตั้งแต่ ๓ ปี

ขึ้นไป แต่ไม่ถึง ๑๐ ปี จะได้รับเงินเท่ากับ ๑ เดือนครึ่งของค่าจ้าง หากทำงานเกิน ๑๐ ปี ก็จะได้รับเงินเท่ากับ ๕ เท่าของค่าจ้าง

รายเดือนอีกด้วย

                       ๑.๕ กรณีสงเคราะห์บุตร ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๒ เดือน ภายใสน ๓๖ เดือน

โดยผู้ประกันตนจะได้รับเงินเหมาจ่ายสงเคราะห์บุตร ๔๐๐ บาทต่อบุตร ๑ คน คราวละไม่เกิน ๒ คน จนบุตรอายุครบ ๖ ปีบริบูรณ์

                       ๑.๖ กรณีชราภาพ ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๘๐ เดือน จะมีสิทธิได้รับบำนาญชราภาพ

โดยต้องมีอายุ ๕๕ ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง กรณีที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ ๑๘๐ เดือน (๑๕ ปี) หากลาออกและ

อายุครบ ๕๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ให้ได้รับบำเหน็จอย่างเดียวจะเลือกรับบำนาญไม่ได้ เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้

                       ๑.๗ กรณีว่างงาน ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ เดือน ภายใน ๑๕ เดือน มี ๒ กรณี

คือ กรณีที่นายจ้างเลิกจ้าง ผู้ประกันตนจะได้รับเงิน ๕๐% ของค่าจ้างครั้งละไม่เกิน ๑๘๐ วัน หรือ ๖ เดือน อีกกรณีหนึ่งคือ ผู้ประกันตนลาออกเอง ก็มีสิทธิได้รับเงิน ๓๐% ของค่าจ้างครั้งละไม่เกิน ๙๐ วัน หรือ ๓ เดือน

 

 

                                                                       - 2 -

                   ๒. ผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ คือ ผู้ประกันตนซึ่งเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ มาแล้วอย่างน้อย ๑๒

เดือน แล้วสมัครใจเป็นผู้ประกันตนต่อภายใน ๖ เดือนนับตั้งแต่วันที่ออกจากการทำงาน เรียกว่าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙

                       ทั้งนี้ ผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเดือนละ ๔๓๒ บาท (คิดจากฐาน

เงินเดือน ๔,๘๐๐ บาท เนื่องจากผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ ไม่มีนายจ้าง จึงต้องส่งเงินทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างรวม ๙%

ไม่รวมเงินสมทบกรณีว่างงาน ๑%) สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ จะได้รับมี ๖ กรณี เหมือนกับผู้ประกันตน

ตามมาตรา ๓๓ ไม่มีสิทธิในกรณีว่างงาน

                   ๓. ผู้ประกันตนตามมาตรา ๔๐ คือ ผู้ประกันตนภาคสมัครใจที่เป็นแรงงานนอกระบบ ประกอบอาชีพอิสระ

และต้องไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๙ ไม่เป็นข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ ต้องเป็นคนไทยอายุ ๑๕ ปี ถึง ๖๐ ปี

บริบูรณ์ สมัครได้ทุกทางเลือก

                       ทางเลือกที่ ๑ เงินสมทบ ๑๐๐ บาท ผู้ประกันตนจ่าย ๗๐ บาท รัฐบาลสมทบ ๓๐ บาท ได้รับสิทธิกรณี

เจ็บป่วยนอนโรงพยาบาลคืนละ ๒๐๐ บาท ไม่เกิน ๓๐ คืนใน ๑ ปี มีเงื่อนไขต้องส่งเงินสมทบ ๓ เดือนภายใน ๔ เดือน นอกจากนี้

ยังได้รับสิทธิกรณีทุพพลภาพต้องส่งเงินสมทบมารแล้ว ๖ เดือนภายใน ๑๐ เดือน และกรณีตายต่องส่งเงินสมทบมาแล้ว ๖ เดือน

ภายใน ๑๒ เดือน

                       ทางเลือกที่ ๒ เงินสมทบ ๑๕๐ บาท ผู้ประกันตนจ่าย ๑๐๐ บาท รัฐบาลสมทบ ๕๐ บาท ได้รับสิทธิเช่นเดียวกับทางเลือกที่ ๑ แต่ได้รับบำเหน็จเดือนละ ๕๐ บาท บวกกับดอกผลอีกด้วย

                       ทางเลือกที่ ๓ เงินสมทบ ๒๐๐ บาท ผู้ประกันตนจ่าย ๑๐๐ บาท รัฐบาลสมทบอีก ๑๐๐ บาท ผู้ประกันตน

จะได้รับบำเหน็จเดือนละ ๒๐๐ บาท กรณีที่ส่งเงินสมทบมาแล้ว ๔๒๐ เดือน (หรือ ๓๕ ปี) มีสิทธิได้รับบำนาญ โดยได้รับขั้นต่ำ

๖๐๐ บาทต่อเดือนตลอดชีวิต

                 สำหรับผู้ที่มีอายุ ๖๕ ปีขึ้นไป สมัครได้เฉพาะทางเลือกที่ ๓ กล่าวคือ ฝากเดือนละ ๑๐๐ บาท แต่ได้คืน

๒๐๐ บาท บวกดอกผลอีกด้วย และจะเปิดรับสมัครในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

                                                                 ---------------------------------

 

สำนักงานประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง

๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๗                

 

ปรับขนาดตัวอักษร

alt          กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม มีภารกิจในการแก้ไขฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ให้กลับตนเป็นพลเมืองดี ไม่หวนกลับไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดอีก ซึ่งการบำบัดฟื้นฟูในด้านอารมณ์และสังคมแก่ผู้ติดยาเสพติด เป็นส่วนสำคัญอีกประการหนึ่งในการเตรียมความพร้อมในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับครอบครัว ชุมชนและผู้อื่นในสังคม ภายหลังการบำบัดแล้ว สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดอ่างทอง จึงจัดโครงการ ค่ายกำลังใจ สู่ถนนคนดี รุ่นที่ 1/2555 โดยการนำผู้ติดยาเสพติด จำนวน 54 คนส่วนใหญ่อายุ ระหว่าง 20 40 ปี เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพยาเสพติด เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน ระหว่างวันที่ 30 เมษายน 2 พฤษภาคม 2555 ที่ศูนย์ฟื้นฟูฯ โรงเรียนวัดปราสาท ต.ราชสถิตย์ อ.ไชโย จ.อ่างทอง มีนายวิศว ศะศิสมิต ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานเปิดโครงการฯ

นางดวงพร นิยะพัตร์ ผู้อำนวยการคุมประพฤติจังหวัดอ่างทอง รายงานว่า ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับความรู้และร่วมกิจกรรมเชิงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทัศนคติในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในครอบครัวและชุมชน มีการฝึกอาชีพอิสระ เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ ปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตของผู้ผ่านการฟื้นฟูครั้งนี้ด้วย

                                                ........................................................

ภาพข่าว นายจักรวุธ ปุนวามะระ สนง.ประชาสัมพันธ์จังหวัดอ่างทอง

ปรับขนาดตัวอักษร

         วันที่ 28 ตุลาคม 2554 นายวิศว  ศะศิสมิต ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานมอบโล่รางวัลและเข็มเชิดชูเกียรติแก่ นางวันทนีย์ ผลทรัพย์ ครูชำนาญการพิเศษ ร.ร.วัดไชโย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง และ นางวรรณิษา ฤทธิ์สุทธิ์ ครูชำนาญการพิเศษ ร.ร.อ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 ซึ่งได้รับคัดเลือกให้รับรางวัล “หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร” ประจำปี 2554 ณ ห้องประชุมวิเศษชัยชาญ ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง

          งาน “วันหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร” ครั้งที่ 27 ประจำปี 2554 โดยมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมกับมูลนิธิอนุสรณ์หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร องค์การเอกชน รวมทั้งหน่วยงานราชการต่างๆ กำหนดจัดขึ้นที่ส่วนกลาง ในวันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2554 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันถึงแก่อนิจกรรมของหม่อมงามจิตต์ฯ และกำหนดให้มีการมอบรางวัล“หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร” แก่ครู-อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ ประจำจังหวัด ซึ่งจังหวัดอ่างทองได้พิจารณาข้าราชการครูจำนวน 2 รายเพื่อรับรางวัลดังกล่าว

   

15176903
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่ผ่านมา
เฉพาะเดือนนี้
เดือนที่ผ่านมา
ทั้งหมด
16358
6523
33291
15116648
27674
170375
15176903

IP 18.116.118.46
Server Time: 2024-07-03 23:19

สำหรับเจ้าหน้าที่

ปรับขนาดตัวอักษร

Copyright © 2015 จังหวัด อ่างทอง
จัดทำโดย กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดอ่างทอง ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
โทร.0-3561-1235 , 0-3561-4912  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. / This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.