รู้จักอ่างทอง
ปลาประจำจังหวัด
- รายละเอียด
- เผยแพร่เมื่อ วันศุกร์, 29 พฤษภาคม 2558 09:12
- เขียนโดย Super User
- ฮิต: 17987
"ปลาตะเพียนทอง"
ประกาศให้เป็นปลาประจำจังหวัดอ่างทอง เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2558
ชื่อสามัญ : RED-TAIL TINFOIL BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barbonymus altus (Gunther, 1868)
ชื่อท้องถิ่น : "ตะเพียนหางแดง" หรือ "ลำปำ" หรือ "เลียนไฟ" ในภาษาใต้ ซึ่งซ้ำกับปลากระแห
ประวัติความเป็นมา : อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระแห (B. schwanenfeldi) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน เชื่อว่าเป็นปลามงคลตั้งแต่ครั้งอดีตถึงปัจจุบัน และยังเป็นปลาในวรรณคดีไทยแต่โบราณกาล ดังกาพย์แห่เรือ ตอนแห่ชมปลา พระนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ หรือเจ้าฟ้ากุ้ง กวีเอกแห่งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย "ตะเพียนทองงามดั่งทอง ไม่เหมือนน้องห่มตาดพราย" อีกทั้งยังเป็นต้นแบบในการสานเป็นปลาตะเพียนทองใบลาน
ลักษณะทั่วไป : มีเกล็ดตามลำตัวแวววาวสีเหลืองทองเหลือบแดงหรือส้ม ครีบหางเป็นสีส้มหรือสีแดงสด ปลาตะเพียนทองมีเกล็ดใหญ่กว่าปลากระแห และครีบหลัง ครีบหางไม่มีแถบสีดำ ขนาดโตเต็มที่ประมาณไม่เกิน 30 เซนติเมตร จัดเป็นปลาชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และที่สำคัญยังมีชื่อพ้องกับจังหวัดอ่างทอง คือคำว่า "ทอง"
ถิ่นอาศัย : ปลาตะเพียนทองเป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันดี มีถิ่นกำเนิดในน่านน้ำจืด พบชุกชุมในเขตพื้นที่จังหวัดอ่างทอง ในลำน้ำเจ้าพระยาและลำน้ำน้อย โดยเฉพาะแหล่งปลาหน้าวัดทุกแห่งในเขตจังหวัดอ่างทอง
หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์..
- รายละเอียด
- เผยแพร่เมื่อ วันอาทิตย์, 31 สิงหาคม 2557 19:14
- เขียนโดย Super User
- ฮิต: 1018
แผนที่การเดินทางจังหวัดอ่างทอง
- รายละเอียด
- เผยแพร่เมื่อ วันเสาร์, 23 สิงหาคม 2557 22:09
- เขียนโดย Super User
- ฮิต: 37990
การคมนาคม :
เส้นทางการคมนาคมภายในจังหวัด และจังหวัดใกล้เคียง แบ่งเป็น 2 ทางด้วยกัน คือ ทางรถยนต์และทางเรือ ประชาชนส่วนใหญ่นิยมการเดินทาง และการขนส่งทางรถยนต์มากที่สุด การติดต่อภายในจังหวัดระหว่างอำเภอต่าง ๆ สามารถติดต่อกันได้ครบทุกอำเภอโดยทางรถยนต์ ซึ่งมีสภาพเส้นทางเป็นทางลาดยางแอลฟัสต์ตลอด นอกจากนี้ มีเส้นทางชนบทเป็นเส้นทางที่อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมโยธาธิการ ทางหลวงชนบทจังหวัด กรมชลประทาน และองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นถนนเชื่อมติดต่อระหว่างหมู่บ้านกับหมู่บ้าน และหมู่บ้านกับอำเภอ
การคมนาคมขนส่งทางน้ำ :
มีแม่น้ำที่สำคัญ 2 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย สามารถใช้สัญจรไปมาได้ตลอดปีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านท้องที่อำเภอไชโย อำเภอเมือง อำเภอป่าโมก ระยะทางยาวประมาณ 40 กิโลเมตร และแม่น้ำน้อยซึ่งเป็นแม่น้ำที่แยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงจังหวัดชัยนาทไหลลงมาผ่านท้องที่อำเภอโพธิ์ทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ ระยะทางยาวประมาณ 50 กิโลเมตร
- รายละเอียด
- ฮิต: 6696
คำถามที่พบบ่อยของจังหวัดอ่างทอง
1. จะเดินทางไปวัดขุนอินทประมูล ใช้เส้นทางใด
ตอบ จากถนนสายเอเชียแยกเข้าอ่างทอง ไปตามถนนสายโพธิ์พระยา-ท่าเรือ ข้ามสะพานแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านตลาดอ่างทอง เจอสี่แยกเรือนจำให้เลี้ยวขวา ตรงไปประมาณ 2 กม. เจอสามแยกป่างิ้วให้ตรงไป ประมาณ 5 กม. จะเจอโรงพยาบาลโพธิ์ทอง ให้ชิดขวาเพื่อกลับรถ แล้วชิดซ้ายจะพบป้ายวัดขุนอินทประมูลให้เลี้ยวซ้าย ตรงเข้าไปประมาณ 4 กม. วัดจะอยู่ทางขวามือ
2. ช่องทางการร้องเรียน-ร้องทุกข์ ของประชาชน จะสามารถร้องเรียนได้ช่องทางใดบ้าง
ตอบ
- ร้องเรียนโดยตรงได้ที่ สำนักงานจังหวัดอ่างทอง ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดอ่างทอง ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง
- ส่งจดหมายร้องเรียน ถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง
- ร้องเรียนทางเว็บไซต์จังหวัดอ่างทอง http://www.angthong.go.th/petition/web
3. ศูนย์จำหน่ายสินค้า OTOP และของที่ระลึกจังหวัดอ่างทอง ตั้งอยู่ที่ใด
ตอบ 1. หมู่ 8 ตำบลบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง
2. วัดไชโย ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
4. วัดที่นิยมท่องเที่ยวไหว้พระ 9 วัด มีวัดใดบ้าง และเริ่มจากวัดไหนถึงวัดไหน
ตอบ เดินทางจากกรุงเทพ มาตามถนนสายเอเชีย เริ่มต้นดังนี้
1. วัดจันทรังษี
2. วัดต้นสน
3. วัดขุนอินทประมูล
4. วัดโพธิ์หอม
5. วัดไชโยวรวิหาร
6. วัดม่วง
7. วัดสี่ร้อย
8. วัดป่าโมกวรวิหาร
9. วัดท่าสุทธาวาส
ต้นไม้ประจำจังหวัด
- รายละเอียด
- เผยแพร่เมื่อ วันเสาร์, 23 สิงหาคม 2557 22:06
- เขียนโดย Super User
- ฮิต: 14841
"มะพลับ" ต้นไม้ประจำจังหวัดอ่างทอง
มะพลับ (Diospyros areolata King & Gamble)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros areolata King & Gamble
ชื่อวงศ์ : EBENACEAE
ชื่อท้องถิ่น : เชียงราย เรียก มะพลับ , ม่ากาลับตอง , ม่ากับต๋อง
ลักษณะทั่วไป : มะพลับเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงถึง 15 เมตร ลำต้นมักคดงอ เปลือกค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาลปนเขียวอ่อนหรือปนดำ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ตัวใบรูปขอบขนาน กว้าง 4-7 เซนติเมตร ยาว 7-10 เซนติเมตร โคนใบโค้งมน ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียบทู่ เนื้อใบหนาผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน ดอกมีดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้ออกเป็ช่อสั้น ๆ ตามง่าม ใบ ก้านดอกยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร มีขนหนาแน่น ดอกเพศเมียมักออกเดี่ยว ๆ ตามกิ่งเล็ก ๆ ก้านดอกยาว 5-10 มิลลิเมตร มีขน ผลกลมหรือค่อนข้างกลม ผิวมีเกล็ดสีน้ำตาลแดง กลีบจุกผลแต่ละกลีบเกือบไม่ติดกัน เกลี้ยงหรืออาจมีขนบ้างทั้งสองด้าน กลีบส่วนมากจะพับกลับ มีบ้างที่แผ่กางออก ขอบกลีบมันเป็นคลื่น ไม่มีเส้นลายกลีบ
การปลูก : พบขึ้นตามป่าดงดิบ และตามบริเวณป่าชายเลน เหนือระดับน้ำทะเล 2-30 เมตร ทางภาคใต้ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
สรรพคุณทางยา : ใช้เปลือกต้นและเนื้อไม้ ต้มเอาน้ำดื่ม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ใช้เปลือกต้นและเนื้อไม้ย่างไฟให้กรอบ หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ชงดื่ม แก้กามตายด้าน บำรุงความกำหนัด
ประโยชน์อื่น ๆ : ยางของลูกมะพลับนำมาละลายน้ำใช้ย้อมแหและอวน เพื่อให้ทนทานเช่นเดียวกับตะโก แต่ยางของลูกมะพลับใช้ได้ดีกว่ามาก เพราะไม่ทำให้เส้นด้ายแข็งกรอบเหมือนผลตะโก จึงทำให้ยางของมะพลับมีราคาดีกว่าตะโกมาก จึงมีพ่อค้าหัวใสนำยางของผลตะโกปลอมขายเป็นยางมะพลับ จึงได้เกิดมีคำพังเพยว่า "ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก"
คติความเชื่อ : มะพลับเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งของคนไทย กำหนดปลูกไว้ทางทิศใต้ (ทักษิณ) ตามโบราณเชื่อกันว่า การปลูกต้นมะพลับในบริเวณบ้านจะทำให้ร่ำรวยยิ่งขึ้น