การบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา
แนวทางการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาของสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา ส่วนบริหารจัดการน้ำ กรมชลประทาน รายงานว่า ในปัจจุบันสภาพการใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปรังในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปีที่ผ่าน ๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน ดังนี้
ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
วันที่ 27 ธ.ค.55 เวลา 06.00 น. ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ที่ +15.71 ม.-รทก. ปริมาณน้ำไหลผ่าน 60 ม.3/วิ. เพื่อไม่ให้ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาลดต่ำลงจนส่งผลกระทบต่อการรับน้ำเข้าพื้นที่โครงการเจ้าพระยาใหญ่ทั้งสองฝั่ง ขอให้แต่ละพื้นที่ควบคุมการรับน้ำเข้าพื้นที่ตามแผนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ซึ่งในขณะนี้สภาพการใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลการเพาะปลูกข้าวนาปรัง ณ วันที่ 21 ธ.ค. 55 มีจำนวน 4.6 ล้านไร่ ซึ่งมากกว่าปีที่ผ่าน ๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน ประมาณ 2.6 ล้านไร่ จากสภาพน้ำต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อไม่ให้ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งผลกระทบจากการรุกล้ำของน้ำเค็มจากอิทธิพลน้ำทะเลหนุนบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
สำหรับแผนการระบายน้ำในสัปดาห์่ ช่วงวันที่ 31 ธ.ค. 55 - 6 ม.ค. 56 จากอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล อัตราเฉลี่ยวันละ 26.40 ล้าน ม.3 (306 ม.3/วิ.) อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ อัตราเฉลี่ยวันละ 25.90 ล้าน ม.3 (300 ม.3/วิ.) อ่างเก็บน้ำเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน อัตราเฉลี่ยวันละ 4.32 ล้าน ม.3 (50 ม.3/วิ.) และอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อัตราเฉลี่ยวันละ 3.45 ล้าน ม.3 (40 ม.3/วิ.)
สำหรับการรับน้ำเข้าพื้นที่ในช่วงวันที่ 28 ธ.ค.55 - 3 ม.ค. 56 สชป. พิจารณา ดังนี้
- สชป.3 รับน้ำเข้าพื้นที่โครงการพัฒนาเกษตรกรพิษณุโลก ในอัตราวันละ 5.18 ล้าน ม.3 (60 ม.3/วิ.)
- สชป.4 รับน้ำเข้าพื้นที่โครงการ ชป.กำแพงเพชร และโครงการส่งน้ำฯ ท่อทองแดง ในอัตราวันละ 5.61 ล้าน ม.3 (65 ม.3/วิ.)
- สชป.12 ควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ในอัตราวันละ 5.18 ล้าน ม.3 (60 ม.3/วิ.) โดยรับน้ำเข้าพื้นที่ผ่านประตูระบายน้ำพลเทพ, คลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง และคลองเล็กอื่น ๆ ในอัตรารวมวันละ 15.98 ล้าน ม.3 (185 ม.3/วิ.) แลระบายน้ำลงสู่พื้นที่ สชป.11 ผ่านประตูระบายน้ำโพธิ์พระยา, ประตูระบายน้ำผักไห่-เจ้าเจ็ด และประตูระบายน้ำโพธิ์คอย ในอัตรารวมวันละ 2.16 ล้าน ม.3 (25 ม.3/วิ.)
- สชป.10 รับน้ำเข้าพื้นที่ผ่านประตูระบายน้ำมโนรมณ์, ประตูระบายน้ำมหาราช และคลองเล็กอื่น ๆ ในอัตรารวมไม่เกินวันละ 12.53 ล้าน ม.3 (145 ม.3/วิ.) ระบายน้ำลงสู่พื้นที่ สชป.11 ผ่าน ประตูระบายน้ำพระศรีเสาวภาค ในอัตราวันละ 2.16 ล้าน ม.3 (25 ม.3/วิ.) และประตูระบายน้ำพระศรีศิลป์ ในอัตราวันละ 0.86 ล้าน ม.3 (10 ม.3/วิ.)
- สชป.11 และ สชป.12 ตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค. 56 ประสานงานร่วมกันรับน้ำแม่น้ำท่าจีนเพื่อผันน้ำผ่านระบบชลประทานของโครงการส่งน้ำฯ พระยาบรรลือ เพื่อควบคุมคุณภาพแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านประตูระบายน้ำสิงหนาท สชป.12 ในอัตราวันละ 2.59 ล้าน ม.3 (30 ม.3/วิ.)
ทั้งนี้ โครงการชลประทานจังหวัดอ่างทอง ขอให้เกษตรกรและผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อป้องกันและบรรเทาสภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำที่อาจเกิดขึ้นต่อไป