เชื่อมโยงหน่วยงาน

มากกว่า...

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ประกันสังคมโชว์ ผลงานเด่น ครึ่งปี 57 เตรียมเดินหน้าพัฒนาเพิ่มสิทธิประโยชน์

ปรับขนาดตัวอักษร



สานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แจงผลงานครึ่งปีแรก 2557 เข้าเป้า จ่ายบานาญชราภาพ 9,918คน เป็นเงินกว่า 80.52 ล้านบาท เผยยอดผู้ประกันตนมาตรา 40 ทะลุเป้าเกิน 1.7 ล้านคน พร้อมเดินหน้าเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ดร.อามร เชาวลิต เลขาธิการสานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

แถลงผลงาน ในปี 2557 จนถึงปัจจุบันของสานักงานประกันสังคมได้มีการดาเนินงานที่เร่งด่วน ดังนี้

 

 

ความคืบหน้าเกี่ยวกับการจ่ายเงินบานาญชราภาพ

ให้กับผู้มีสิทธิตั้งแต่ปลายเดือน ธันวาคม 2556 จนถึงพฤษภาคม 2557 มีผู้มีสิทธิมาขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ ดังนี้ กรณีบานาญชราภาพจานวน 9,918 คน เป็นเงิน 80.52 ล้านบาท และกรณีบาเหน็จชราภาพ จานวน 63,264 คน เป็นเงิน 2,153.89 ล้านบาท โดยพบปัญหาผู้ประกันตนยังไม่มีความเข้าใจในสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ อาทิเช่น ผู้ประกันตนมีสิทธิรับบานาญชราภาพ แต่ต้องการรับบาเหน็จชราภาพ ซึ่งตามกฎหมายปัจจุบัน ไม่สามารถเลือกได้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขการจ่ายบานาญชราภาพ นอกจากนี้ในกรณีหลายฝ่ายกังวลว่า การจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพที่กองทุนประกันสังคมต้องติดลบในอีก 30 ปีข้างหน้า เพราะมีเงินไหลออกมากกว่ารายรับ ทั้งนี้สานักงานประกันสังคมได้ศึกษาแนวทางการจ่ายเงินชราภาพไว้แล้ว ดังนี้

ทางเลือกที่ 1 มาตรการปรับเพิ่มอัตราเงินสมทบกรณีชราภาพ

ทางเลือกที่ 2 มาตรการเพิ่มอายุผู้ที่มีสิทธิรับบานาญ 2 ปี ทุกๆ 4 ปี

ทางเลือกที่ 3 เพิ่มระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบเพื่อเกิดสิทธิรับบานาญ จาก 15 ปี เป็น 20 ปี

ทางเลือกที่ 4 ปรับสูตรบานาญในการคานวณค่าจ้างเฉลี่ย จา ฐาน 60 เดือนสุดท้าย เป็นตลอดช่วงการจ่ายเงินสมทบ

ทางเลือกที่ 5 เป็นมาตรการผสมโดยใช้ทางเลือกที่ 1 + 3 พร้อมกัน

ทางเลือกที่ 6 เป็นมาตรการผสม ใช้ทางเลือกที่ 1 +2 +3 +4 พร้อมกัน

 

ทั้งนี้ สานักงานประกันสังคมจะได้นาเสนอคณะอนุกรรมการพิจารณาและกาหนดแนวทาง การจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ เพื่อศึกษารายละเอียดทางเลือกของการจ่ายเงินบานาญชราภาพ ที่เหมาะสมต่อไป

 

 

การปรับโครงสร้างหน่วยงานลงทุน และขยายสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศ

 

การปรับโครงสร้างหน่วยงานลงทุนให้มีความคล่องตัว เสริมทีมงานมืออาชีพ เพื่อรองรับ เงินลงทุนที่จะเติบโตมากขึ้น พร้อมกับขยายสัดส่วนการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ คาดหวังผลตอบแทน 10-12% ต่อปี เงินลงทุนกองทุนประกันสังคมซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินออมของผู้ประกันตน ได้เติบโตขึ้น อย่างรวดเร็วและจะโตขึ้นอีกในอนาคต โดยสานักงานคาดว่า เงินลงทุนจะเพิ่มขึ้นจาก 1.1 ล้านล้านบาท ในปัจจุบัน เป็น 2 ล้านล้านบาทในปี พ.ศ. 2561 พร้อมกับตั้งเป้าหมายเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน จากที่คาดว่าจะได้ 4.5% ต่อปี เป็น 5.5% ต่อปี ซึ่งจะทาให้กองทุนมีดอกผลเพิ่มขึ้นปีละ 10,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับสิทธิประโยชน์บาเหน็จบานาญชราภาพในอนาคต

/ที่ผ่านมา...

-2-

ที่ผ่านมาการบริหารกองทุนภายใต้ระบบราชการอาจจะพอทาได้เมื่อมีเงินลงทุนไม่มาก แต่ด้วยเงินลงทุนที่จะมากขึ้น สานักงานจาเป็นต้องเร่งการยกระดับ “สานักบริหารการลงทุน” ให้เป็นกองจริง เพื่อทาหน้าที่กากับและตรวจสอบการลงทุน แล้วแยกหน่วยจัดการลงทุนให้เป็น “หน่วยงานแบบพิเศษในกากับสานักงานประกันสังคม” โดยมีลักษณะ ดังนี้

-บริหารงานแบบเบ็ดเสร็จในตัวเอง (Self-contain Unit)

-โปร่งใส ตรวจสอบได้ ยึดถือปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ

-มีระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างที่คล่องตัว สามารถแข่งขันในตลาดการเงินกับภาคเอกชนได้

-กาหนดวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดผลการดาเนินการอย่างเป็นรูปธรรมและมีความรับผิดชอบต่อผลงาน

-บริหารโดยทีมงานมืออาชีพและเทคโนโลยีที่ทันสมัย รองรับการลงทุนที่ซับซ้อนทั้งใน และต่างประเทศ

ทั้งนี้ ในส่วนของการลงทุนในต่างประเทศ ที่ปัจจุบันมีวงเงินที่ได้ทยอยลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 จานวน 30,000 ล้านบาท (ประกอบด้วยเงินต้น 24,000 ล้านบาท และกาไรสะสม 6,000 ล้านบาท) คณะกรรมการประกันสังคม ได้มีมติเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ที่ผ่านมา เห็นชอบให้ ขยายสัดส่วนการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ ดังนี้

1. นาดอกผลส่วนหนึ่งจากการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศข้างต้น ไปลงทุนในหุ้น วงเงินไม่เกิน 5,000 ล้านบาท

2. เพิ่มเงินลงทุนในกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศที่มีจาหน่ายในประเทศไทย ในวงเงินไม่เกิน 7,000 ล้านบาท

โดยสานักงานประกันสังคมได้กาหนดกลยุทธ์การลงทุนให้เน้นการลงทุนในหุ้นของบริษัทฯ ในยุโรปและญี่ปุ่น ที่กาลังได้รับผลประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และเน้นการลงทุนในกลุ่มสุขภาพ (Healthcare) และกลุ่มสถาบันการเงิน โดยคาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ 10-12% ต่อปี ซึ่งในวงเงิน 12,000 ล้านบาทนี้ จะสร้างดอกผลให้กับกองทุนประกันสังคมเพิ่มเติมอีกประมาณ ปีละ 1,000 ล้านบาท

 

ทั้งนี้ การลงทุนทั้งหมดของกองทุนประกันสังคมนั้น เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการประกันสังคม ว่าด้วยการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม พ.ศ.2549 ซึ่งกาหนดให้กองทุนประกันสังคม ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ากว่าร้อยละ 60 ของเงินกองทุน และลงทุน ในหลักทรัพย์ ที่มีความเสี่ยงได้ไม่เกินร้อยละ 40 ของเงินกองทุน โดยในการดาเนินการลงทุนนั้น สานักงานประกันสังคมจะดาเนินการลงทุนตามระเบียบคณะกรรมการประกันสังคมฯ และตามแผนการลงทุนประจาปี ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการประกันสังคม โดยจะพิจารณาจากผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ ความเสี่ยงของการลงทุน และคานึงถึงความมั่นคงของกองทุนในระยะยาวเป็นสาคัญ

 

 

/การปรับปรุง...

 

-3-

 

การปรับปรุงสิทธิประโยชน์การให้บริการทางการแพทย์ให้แก่ผู้ประกันตน

 

ปรับปรุงรายการและอัตราค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบาบัดรักษาโรคกรณีทุพพลภาพและค่าตอบแทนแพทย์ในการตรวจร่างรายผู้ทุพพลภาพ

คณะกรรมการประกันสังคมมีมติเห็นชอบให้ปรับปรุงรายการและอัตราค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์ในการบาบัดรักษาโรคกรณีทุพพลภาพ ดังนี้

 

1.รายการ อุปกรณ์/อวัยวะเทียมเพื่อการฟื้นฟู

ปัจจุบันบัญชีรายการอุปกรณ์/อวัยวะเทียมของผู้ทุพพลภาพมี 50 รายการ ปรับเพิ่มเป็นตามรายการของกรมบัญชีกลาง 85 รายการและเพิ่มรถนั่ง คนพิการแบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า

2.รายการ ค่าซ่อมแซมอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบาบัดรักษาโรค

ปัจจุบัน เบิกค่าซ่อมไม่ได้ ปรับเพิ่มเป็นให้เบิกได้ตามรายการของกรมบัญชีกลาง โดยแพทย์ของสถานพยาบาล ที่ตรวจรักษาเป็นผู้สั่งซ่อมโดยประหยัดไม่เกินตามอัตรารายการที่กาหนด

3.รายการ อุปกรณ์/อวัยวะเทียมเพื่อการบาบัดรักษาโรค

ปัจจุบันบัญชีรายการอุปกรณ์/อวัยวะเทียมของผู้ทุพพลภาพ ไม่มีในรายการที่กาหนด ปรับเพิ่มเป็นให้เบิกได้ตามรายการ ของกรมบัญชีกลาง 359 รายการ

ทั้งนี้ ผู้ทุพพลภาพที่มีสิทธิ จานวน 10,016 ราย งบประมาณที่ใช้ ปี 2557 ประมาณ 4.5 ล้านบาท (คิดจากจานวนผู้ทุพพลภาพ ปี 2557 จานวน 10,016 x ค่าใช้จ่าย 450 บาท/คน/ปี)

 

4.รายการค่าตอบแทนแพทย์ในการตรวจร่างกายผู้ทุพพลภาพ

ปัจจุบันการตรวจ ในสถานพยาบาลจ่ายให้ที่ 200 บาท/ราย ปรับเพิ่มเป็น 500 บาท/ราย การตรวจนอกสถานที่ จาก 200 บาท/ชม./ราย แต่ไม่เกิน 1,000 บาท ปรับเพิ่มเป็น 500 บาท/ชม./ราย แต่ไม่เกิน 2,500 บาทผู้ประกันตนที่ต้องประเมิน ทุพพลภาพประมาณไว้ที่ 910 ราย การตรวจนอกสถานที่ ครั้งละ 3 ราย คิดเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 1.06 ล้านบาท

ทั้งนี้ สานักงานประกันสังคมจะได้ดาเนินออกประกาศคณะกรรมการแพทย์เพื่อให้มีผลบังคับใช้เดือนกรกฎาคม 2557 ต่อไป

 

ผลการดาเนินงานการขยายความคุ้มครองมาตรา 40 และการจ่ายสิทธิประโยชน์ ให้กับผู้ประกันตนตามมาตรา 40

 

สานักงานประกันสังคมมีการปรับปรุงกฎหมายเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตน ตามมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม ดังนี้

1. เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ (เงินบานาญชราภาพ) โดยผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเดือนละ 100 บาท รัฐบาลจ่ายอุดหนุน 100 บาท/เดือน ซึ่งสามารถจ่ายได้ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2556 ถึง วันที่ 8 ธันวาคม 2557 เท่านั้น

2. ลดเงื่อนไขการรับสิทธิประโยชน์กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ผู้ประกันตน นอนโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท เป็นระยะเวลา 30 วัน/ปี

3. ลดเงื่อนไขการรับสิทธิประโยชน์กรณีตาย หากผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เสียชีวิต ด้วยอุบัติเหตุ หากมีการจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนเสียชีวิต ผู้จัดการศพ มีสิทธิได้รับเงินค่าทาศพ 20,000 บาท

4. เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป สามารถเข้าสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้ แต่ต้องสมัครขึ้นทะเบียนภายใน 1 ปี เท่านั้น (9 ธ.ค.56 –8 ธ.ค.57)

ส่งผลให้ปัจจุบันมีแรงงานนอกระบบสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ทั้งสิ้น (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิ.ย.57) จานวน 1,765,708 คน ซึ่งตามเป้าหมายของสานักงานประกันสังคมกาหนดไว้ในปี พ.ศ.2557 จานวน 1,759,000 คน

/ทั้งนี้...

-4-

 

ทั้งนี้ เพื่อให้จานวนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 คงอยู่และมีจานวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยังได้จัดโครงการประชุมชี้แจงให้ความรู้ความเข้าใจการขยายความคุ้มครองประกันสังคมมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3 จานวน 10 รุ่น รุ่นละ 300 คน และดาเนินการ 4 รุ่นๆ 1,100 คน ในระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนสิงหาคม 2557 โดยนาร่องจัดบริการรถโมบายเคลื่อนที่ จานวน 5 คันสาหรับใช้เป็นรถบริการเคลื่อนที่ในการออกหน่วยบริการให้แก่ผู้ประกันตนในพื้นที่ห่างไกลต่างๆ ในการรับขึ้นทะเบียน รับชาระเงินสมทบ การจ่ายประโยชน์ทดแทน

 

 

ผลการดาเนินงานสานักงานกองทุนเงินทดแทน

 

1.การปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทน

ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ลูกจ้างเพื่อให้อัตราค่ารักษาพยาบาลและค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ ในการทางาน มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ดังนี้

1) กฎกระทรวงกาหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้าง พ.ศ. ....

ปรับเพิ่มจากอัตราไม่เกิน 45,000 บาท ถึง 300,000 บาท เป็น ไม่เกิน 50,000 บาทถึง 1,000,000 บาท

2) กฎกระทรวงกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทางาน ที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. .....ปรับค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทางาน โดยปรับค่าฟื้นฟูด้านอาชีพ จากจ่ายไม่เกิน 20,000 บาท เป็น จ่ายได้ไม่เกิน 24,000 บาท และค่าใช้ในกระบวนการบาบัดรักษา จากจ่ายไม่เกิน 20,000 บาท เป็น ไม่เกิน 40,000 บาท และเพิ่มการจ่ายค่าวัสดุ อุปกรณ์ ให้อีกไม่เกิน 160,000 บาท (เดิมไม่มี)

ซึ่งกฎกระทรวงฯ ทั้ง 2 ฉบับ ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานลงนาม

2.การปรับเปลี่ยนรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน (TSIC)

ปรับเปลี่ยนรหัสประเภทกิจการตามมาตรฐานสากลและอัตราเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ทาให้รหัสประเภทกิจการมีความละเอียด ครอบคลุมกิจการที่เกิดขึ้นใหม่ และอัตราเงินสมทบมีความเหมาะสมกับความเสี่ยงและสอดคล้องกับข้อเท็จจริงของประเภทกิจการในปัจจุบัน ซึ่งจะส่งผลให้นายจ้างเกิดการยอมรับในการจ่ายเงินสมทบและกองทุนมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนได้เห็นชอบในหลักการและดาเนินการแก้ไขร่างประกาศกระทรวงฯ สาหรับการจัดเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ในปี 2558

3.การประชุมชี้แจงการดาเนินงานโครงการคลินิกโรคจากการทางาน

ดาเนินการประชุมชี้แจงการดาเนินงานโครงการคลินิกโรคจากการทางานเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน 2557 ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายในการดาเนินงานด้านการป้องกัน และส่งเสริมความปลอดภัยในการทางาน และให้ลูกจ้างได้รับการตรวจวินิจฉัย การรักษาพยาบาลเกี่ยวกับ โรคจากการทางาน

4.การประชุมสถานพยาบาลในความตกลงกองทุนเงินทดแทน

ดาเนินการประชุมสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2557 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการทางการแพทย์แก่ลูกจ้าง ที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทางาน

ดร.อามร เชาวลิต เลขาธิการสานักงานประกันสังคม กล่าวต่อไปว่า จากผลการดาเนินงาน ที่ผ่านมา เราค่อนข้างพอใจที่ยอดผู้ประกันตนเพิ่มขึ้น รวมทั้งสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น ล้วนแต่สร้างความพอใจให้แก่ผู้ประกันตน ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสานักงานประกันสังคม

หากนายจ้างและผู้ประกันตนมีข้อสงสัย มีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลได้ที่สานักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/ จังหวัด/ สาขาที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 ให้บริการ 24 ชั่วโมง ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th

....................................................................

สานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

 

โทร. 1506 (บริการตลอด 24 ชั่วโมง) หรือ www.sso.go.th

 

14773338
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่ผ่านมา
เฉพาะเดือนนี้
เดือนที่ผ่านมา
ทั้งหมด
3193
4883
16957
14723010
112941
253183
14773338

IP 18.191.202.45
Server Time: 2024-04-25 11:30

สำหรับเจ้าหน้าที่

ปรับขนาดตัวอักษร

Copyright © 2015 จังหวัด อ่างทอง
จัดทำโดย กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดอ่างทอง ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
โทร.0-3561-1235 , 0-3561-4912  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. / This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.