เชื่อมโยงหน่วยงาน

มากกว่า...

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ปรับขนาดตัวอักษร

      น.ส.โสภาวดี เลิศมนัสชัย เลขาธิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า กบข.ได้ร่วมมือกับ บมจ.ทิพยประกันภัย และ บมจ.ฟอลคอนประกันภัย จัดโครงการประกันสุขภาพส่วนเพิ่ม เพื่อสมาชิก กบข. เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้กับสมาชิกที่เข้ารับการรักษาพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน ครอบคลุมค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มที่ข้าราชการสมาชิก กบข.ต้องรับผิดชอบด้วยตนเองให้มากที่สุด และเสนออัตราเบี้ยประกันพิเศษที่จัดขึ้นพิเศษเฉพาะสมาชิก กบข.เท่านั้น

      นายทนงศักดิ์ ศรีเรืองสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทิพยประกันภัย กล่าวว่า บริษัทได้จัดทำกรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคลแบบพิเศษขึ้นมา เฉพาะสมาชิก กบข.และครอบครัว ภายใต้ชื่อ “ทิพยเติมเต็ม” ซึ่งมีแผนประกันภัยให้สมาชิก กบข.เลือก ทั้งหมด 5 แผน อัตราเบี้ยประกันเริ่มต้น 870 บาทต่อปี  โดยแต่ละแผนจะให้ความคุ้มครองที่หลากหลาย ครอบคลุมค่าใช้จ่าย ค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการพยาบาลส่วนเกินจากสิทธิที่เบิกได้ และชดเชยรายได้ในกรณีเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลจากอุบัติเหตุ รวมทั้งคุ้มครองการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุส่วนบุคคล

      นายโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ฟอลคอนประกันภัย กล่าวว่า บริษัทได้นำเสนอกรมธรรม์ประกันภัยทันตกรรมไอเด็นทอล ซึ่งให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาลสุขภาพฟัน ซึ่งรวมถึงการขูดหินปูน ขัดเคลือบฟลูออไรด์ อุดฟัน ถอนฟัน รักษารากฟัน รวมถึงเอกซเรย์ และการรักษาพยาบาลที่เกี่ยวกับฟันซึ่งเกิดจากอุบัติเหตุ ค่าเบี้ยประกันเริ่มต้นเพียงวันละ 15 บาท คุ้มครองสูงสุด 3.9 หมื่นบาท

      นายบินายัค ดัตตา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.พรูเด็นเชียลประกันชีวิต กล่าวว่า จากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่
ในปลายปี 2554 ทำให้ประชาชนสนใจทำประกันชีวิตมากขึ้น ส่งผลให้ผลประกอบการในไตรมาสแรกประมาณ 100% หรือ 4 เท่าของธุรกิจประกันชีวิตที่เติบโต 26% ทั้งนี้ ผลกำไรของบริษัทเติบโต 75% ทำให้บริษัทติดอยู่อันดับ 9 ของธุรกิจประกันชีวิตในไทย

ที่มา:ไทยโพสต์

ปรับขนาดตัวอักษร

สถานการณ์อุทกภัยจังหวัดอ่างทอง ปี ๒๕๕๔ ผ่านไปแล้ว มีการเยียวยา ฟื้นฟู ช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัย …หากสนใจ ดูที่นี่



http://thainews.prd.go.th/small_head/flood_aid/

ปรับขนาดตัวอักษร

angthong hospital

ขออนุญาติแนะนำอีกหนึ่งช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับ "โรงพยาบาลอ่างทอง

เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพในการให้บริการ โรงพยาบาลอ่างทองได้จัดทำเว็บไซต์ขึ้นเพื่อเป็นอีกช่องทางสำหรับ ผู้รับบริการและผู้ให้บริการได้ติดต่อสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมีแผนพัฒนาเว็บไซต์ให้เป็นศูนย์การของการเรียนรู้ และดูแลสุขภาพของประชาชน เป็นแหล่งข้อมูล ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรค อาการของโรคต่างๆ การดูแลรักษา การป้องกัน รวมไปถึงการดูแลผู้ป่วย ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรค และอาการของโรคมากยิ่งขึ้น เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกันที่ดี ในการป้องกันโรค 

เพื่อสุขอนามัยที่ดี จึงได้จัดทำเว็บไซต์ของโรงพยาบาลขึ้น หากท่านใดสนใจ หรือต้องการแนะนำติชมเว็บไซต์ของ "โรงพยาบาลอ่างทอง"  เข้าชมได้ที่ 

http://ath.in.th

หรือติดตามผ่านทาง Facebook Page(อย่าลืมกด Like! )

facebook.com/AngthongHospital

ปรับขนาดตัวอักษร

        แนวทางการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาของสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา ส่วนบริหารจัดการน้ำ กรมชลประทาน รายงานว่า ในปัจจุบันสภาพการใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปรังในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปีที่ผ่าน ๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน ดังนี้

ลุ่มน้ำเจ้าพระยา

        วันที่ 27 ธ.ค.55 เวลา 06.00 น. ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ที่ +15.71 ม.-รทก. ปริมาณน้ำไหลผ่าน 60 ม.3/วิ. เพื่อไม่ให้ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาลดต่ำลงจนส่งผลกระทบต่อการรับน้ำเข้าพื้นที่โครงการเจ้าพระยาใหญ่ทั้งสองฝั่ง ขอให้แต่ละพื้นที่ควบคุมการรับน้ำเข้าพื้นที่ตามแผนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ซึ่งในขณะนี้สภาพการใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลการเพาะปลูกข้าวนาปรัง ณ วันที่ 21 ธ.ค. 55 มีจำนวน 4.6 ล้านไร่ ซึ่งมากกว่าปีที่ผ่าน ๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน ประมาณ 2.6 ล้านไร่ จากสภาพน้ำต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อไม่ให้ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งผลกระทบจากการรุกล้ำของน้ำเค็มจากอิทธิพลน้ำทะเลหนุนบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง

         สำหรับแผนการระบายน้ำในสัปดาห์่ ช่วงวันที่ 31 ธ.ค. 55 - 6 ม.ค. 56 จากอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล อัตราเฉลี่ยวันละ 26.40 ล้าน ม.3 (306 ม.3/วิ.) อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ อัตราเฉลี่ยวันละ 25.90 ล้าน ม.3 (300 ม.3/วิ.) อ่างเก็บน้ำเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน อัตราเฉลี่ยวันละ 4.32 ล้าน ม.3 (50 ม.3/วิ.) และอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อัตราเฉลี่ยวันละ 3.45 ล้าน ม.3 (40 ม.3/วิ.)

         สำหรับการรับน้ำเข้าพื้นที่ในช่วงวันที่ 28 ธ.ค.55 - 3 ม.ค. 56  สชป. พิจารณา ดังนี้

     - สชป.3 รับน้ำเข้าพื้นที่โครงการพัฒนาเกษตรกรพิษณุโลก ในอัตราวันละ 5.18 ล้าน ม.3 (60 ม.3/วิ.)

     - สชป.4 รับน้ำเข้าพื้นที่โครงการ ชป.กำแพงเพชร และโครงการส่งน้ำฯ ท่อทองแดง ในอัตราวันละ 5.61 ล้าน ม.3 (65 ม.3/วิ.) 

     - สชป.12 ควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ในอัตราวันละ 5.18 ล้าน ม.3 (60 ม.3/วิ.) โดยรับน้ำเข้าพื้นที่ผ่านประตูระบายน้ำพลเทพ, คลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง และคลองเล็กอื่น ๆ ในอัตรารวมวันละ 15.98 ล้าน ม.3 (185 ม.3/วิ.) แลระบายน้ำลงสู่พื้นที่ สชป.11 ผ่านประตูระบายน้ำโพธิ์พระยา, ประตูระบายน้ำผักไห่-เจ้าเจ็ด และประตูระบายน้ำโพธิ์คอย  ในอัตรารวมวันละ 2.16 ล้าน ม.3 (25 ม.3/วิ.)

     - สชป.10 รับน้ำเข้าพื้นที่ผ่านประตูระบายน้ำมโนรมณ์, ประตูระบายน้ำมหาราช และคลองเล็กอื่น ๆ ในอัตรารวมไม่เกินวันละ 12.53 ล้าน ม.3 (145 ม.3/วิ.) ระบายน้ำลงสู่พื้นที่ สชป.11 ผ่าน ประตูระบายน้ำพระศรีเสาวภาค ในอัตราวันละ 2.16 ล้าน ม.3 (25 ม.3/วิ.) และประตูระบายน้ำพระศรีศิลป์ ในอัตราวันละ 0.86 ล้าน ม.3 (10 ม.3/วิ.)

     - สชป.11 และ สชป.12 ตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค. 56 ประสานงานร่วมกันรับน้ำแม่น้ำท่าจีนเพื่อผันน้ำผ่านระบบชลประทานของโครงการส่งน้ำฯ พระยาบรรลือ เพื่อควบคุมคุณภาพแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านประตูระบายน้ำสิงหนาท สชป.12 ในอัตราวันละ 2.59 ล้าน ม.3 (30 ม.3/วิ.)

         ทั้งนี้ โครงการชลประทานจังหวัดอ่างทอง ขอให้เกษตรกรและผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อป้องกันและบรรเทาสภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำที่อาจเกิดขึ้นต่อไป

14879695
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่ผ่านมา
เฉพาะเดือนนี้
เดือนที่ผ่านมา
ทั้งหมด
2035
3588
42445
14791643
65593
153705
14879695

IP 3.16.207.226
Server Time: 2024-05-11 16:20

สำหรับเจ้าหน้าที่

ปรับขนาดตัวอักษร

Copyright © 2015 จังหวัด อ่างทอง
จัดทำโดย กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดอ่างทอง ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
โทร.0-3561-1235 , 0-3561-4912  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. / This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.