เชื่อมโยงหน่วยงาน

มากกว่า...

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ปรับขนาดตัวอักษร

การมีคุณภาพชีวิตที่ดี คือ การมีหลักประกันความมั่นคงในชีวิตครอบครัว ไม่เดือดร้อนเมื่อขาดรายได้ยามเจ็บป่วย  

ประสบอันตราย ทุพพลภาพ ตาย และสามารถเก็บออมเงินไว้ใช้ยามชราอีกจำนวนหนึ่ง

         การสร้างหลักประกันให้แก่ตนเองและครอบครัวสามารถทำได้ง่าย โดยเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคม

เพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิต เพียงแค่จ่ายเงินสมทบเริ่มต้นวันละ ๓ บาท เข้ากองทุนประกันสังคมตั้งแต่วันนี้ จะได้รับการ

คุ้มครองที่คุ้มค่าสำหรับตนเองและครอบครัว

กองทุนประกันสังคม จัดตั้งเพี่อใคร

         กองทุนประกันสังคม ดำเนินการโดยรัฐจัดตั้งขึ้นเพื่อให้หลักประกันแก่สมาชิก ซึ่งจะได้รับประโยชน์ทดแทน

เมื่อเกิดความเดือดร้อน ได้แก่ เจ็บป่วย หรือประสบอันตราย ทุพพลภาพ ตาย และชราภาพ โดยสมาชิกจะมีการจ่ายเงินสมทบ

เข้ากองทุนและรัฐบาลร่วมสมทบอีกส่วนหนึ่งด้วย

การประกันสังคมตามมาตรา ๔๐ คืออะไร

       การประกันสังคมตามมาตรา ๔๐ เป็นวิธีการหนึ่งที่ยึดหลักการพึ่งตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันของประชาชน

ด้วยการเปิดโอกาสให้ประชาชนที่ไม่มีหลักประกันชีวิต หรือสิทธิจากสวัสดิการใดๆ เช่น ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เกษตรกร

พ่อค้า แม่ค้า หาบเร่ แผงลอย คนขับรถรับจ้าง ช่างฝีมือ ผู้รับจ้างทั่วไป เป็นต้น สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคมได้

ด้วยการสมทบเงินเข้ากองทุนเพื่อมีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

การสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๔๐

๑.     ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๕ ปี และไม่เกิน ๖๐ ปีบริบูรณ์ ณ วันที่สมัคร

๒.     ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา ๓๓ (ไม่เป็นลูกจ้างในสถานประกอบการ) หรือผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙

๓.     สมัครโดยลงลายมือชื่อในใบสมัครด้วยตนเองพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและจ่ายเงินสมทบงวดแรก

     ได้ที่ สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ      

๔.     เลือกทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบได้ ๒ ทางเลือก คือ

ทางเลือกที่ ๑ จ่าย ๑๐๐ บาท/เดือน

                 (จ่ายเอง ๗๐ บาท รัฐสนับสนุน ๓๐ บาท) **

ทางเลือกที่ ๒ จ่าย ๑๕๐ บาท/เดือน

                 (จ่ายเอง ๑๐๐ บาท รัฐสนับสนุน ๕๐ บาท) **

** รัฐสนับสนุนในระยะแรก ทั้งนี้ จนกว่าสำนักงานประกันสังคมจะประกาศเป็นอย่างอื่น **

๕.     ความเป็นผู้ประกันตนจะเริ่มตั้งแต่วันที่จ่ายเงินสมทบงวดแรก

เมื่อสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๔๐ แล้วต้องทำอย่างไร

๑.     จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเป็นรายเดือน (จำนวนเงินตามทางเลือกที่สมัคร)

๒.     การจ่ายเงินสมทบ จะต้องจ่ายงวดเดือนปัจจุบันหรืองวดล่วงหน้า จะจ่ายเงินสมทบงวดเดือนย้อนหลังไม่ได้

๓.     กรณีจะจ่ายเงินสมทบล่วงหน้า สามารถจ่ายได้ครั้งละไม่เกิน ๑๒ เดือน โดยต้องจ่าย ณ สำนักงานประกันสังคม

เขตพื้นที่/จังหวัด/สาขา เท่านั้น

                                                                                                         /๔. กรณีเลือกจ่ายเงินสมทบ...

              

 

 

-          ๒   -

๔.     กรณีเลือกจ่ายเงินสมทบทางเลือกที่ ๒ (เดือนละ ๑๕๐ บาท/เดือน) สามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมเป็นเงินบำเหน็จ

ชราภาพได้เดือนละไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท

๕.     สามารถจ่ายเงินสมทบประจำเดือน (ตั้งแต่งวดที่ ๒ เป็นต้นไป) ได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสทุกแห่ง หรือหักบัญชีธนาคาร

เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน และธนาคารที่ทำความตกลงไว้กับสำนักงาน

ประกันสังคม โดยผู้ประกันตนต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียมเอง

๖.     กรณีจ่ายเงินสมทบโดยวิธีหักบัญชีธนาคาร ผู้ประกันตนต้องติดต่อธนาคารเพื่อทำหนังสือยินยอมให้หักเงิน

จากบัญชีเงินฝากก่อน

การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูล

         เมื่อเป็นผู้ประกันตนแล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น เปลี่ยนคำนำหน้านาม ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ที่ติดต่อ ขอเปลี่ยนทางเลือกจ่ายเงินสมทบ หรือแจ้งความไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนต่อไป (ลาออก) เป็นต้น ให้แจ้งต่อสำนักงานประกันสังคม

*** กรณีขอเปลี่ยนทางเลือกจ่ายเงินสมทบ จะทำได้ปีละ ๑ ครั้ง ก่อนวันที่ ๒๕ ธันวาคมของทุกปี

และจะมีผลตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ของปีถัดไป***

ประโยชน์ทดแทนที่จะได้รับ

๑.    ทางเลือกที่ ๑ (จ่ายเงินสมทบ ๑๐๐ บาท/เดือน)

๑.๑ เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย วันละ ๒๐๐ บาท ปีละไม่เกิน ๒๐ วัน เมื่อเข้ารับ

     การรักษาเป็นคนไข้ในในโรงพยาบาลอย่างน้อย ๒ วันขึ้นไป (การรักษาพยาบาลใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ

     “บัตรทอง” จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)

๑.๒ เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ จำนวน ๕๐๐-๑,๐๐๐ บาทต่อเดือน เป็นเวลา ๑๕ ปี ทั้งนี้

     จำนวนเงินทดแทนที่จะได้รับจะเป็นไปตามเงื่อนไขของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ (ต้องเป็นผู้ทุพพลภาพ

     หรือทุพพลภาพเพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการแพทย์)

๑.๓ เงินค่าทำศพกรณีตาย จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท

     ๒. ทางเลือกที่ ๒ (จ่ายเงินสมทบ ๑๕๐ บาท/เดือน)

         ๒.๑ ได้รับประโยชน์ทดแทนเช่นเดียวกับทางเลือกที่ ๑

         ๒.๒ ได้รับเพิ่มเงินบำเหน็จชราภาพพร้อมดอกผล (เป็นเงินก้อน) เมื่ออายุ ๖๐ ปีบริบูรณ์ และไม่ประสงค์

                 เป็นผู้ประกันตนต่อไป (ลาออก) เงินบำเหน็จชราภาพคิดจากเงินออม ๕๐ บาท/เดือน หากจ่ายเงินสมทบ

                 เป็นเงินออมเพิ่มมากกว่า ๕๐ บาท จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มมากขึ้นด้วย

เงื่อนไขการรับประโยชน์ทดแทน จ่ายเงินสมทบอย่างต่อเนื่องจะได้รับประโยชน์ทดแทนอย่างครบถ้วน

         ๑. เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ต้องจ่ายเงินสมทบอย่างน้อย ๓ เดือน

             ภายในระยะเวลา ๔ เดือนก่อนเดือนที่เจ็บป่วย

๒. เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ ดังนี้

   - จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย ๖ เดือนภายในระยะเวลา ๑๐ เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ ๕๐๐ บาทต่อเดือน                          

   - จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย ๑๒ เดือนภายในระยะเวลา ๒๐ เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ ๖๕๐ บาทต่อเดือน                          

   - จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย ๒๔ เดือนภายในระยะเวลา ๔๐ เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ ๘๐๐ บาทต่อเดือน                          

   - จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย ๓๖ เดือนภายในระยะเวลา ๖๐ เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ ๑,๐๐๐ บาทต่อเดือน                          

                                                                                                                                    /๓. กรณีตาย...

 

 

 

-          ๓   -

 

         ๓. กรณีตาย ต้องจ่ายเงินสมทบอย่างน้อย ๖ เดือนภายในระยะเวลา ๑๒ เดือนก่อนเดือนที่ถึงแก่ความตาย

         ๔. กรณีชราภาพ (จ่ายทางเลือกที่ ๒) มีอายุครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์ และไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนต่อไป (ลาออก)

กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย ใครจะได้รับเงิน

         ๑. เงินค่าทำศพ ผู้มีสิทธิรับเงินค่าทำศพได้แก่บุคคลตามลำดับ ดังนี้

           ๑.๑ บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้จัดการศพและได้เป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน

           ๑.๒ สามี ภริยา บิดา มารดา หรือบุตรของผู้ประกันตน ซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน

             ๑.๓ บุคคลอื่นที่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน

         ๒. เงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตน ผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จได้แก่บุคคล ดังต่อไปนี้

             ๒.๑ สามี ภริยา บิดา มารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน

             ๒.๒ กรณีไม่มีผู้มีสิทธิตามข้อ ๒.๑ ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุไว้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ

ต้องการขอรับประโยชน์ทดแทน ทำอย่างไร

๑.    ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนฯ (สปส.๒-๐๑/ม.๔๐) พร้อมหลักฐานประกอบการยื่นคำขอฯ ได้ที่สำนักงาน

ประกันสังคมทั่วประเทศ        

๑.๑ เงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

     (๑) ใบรับรองแพทย์

               (๒) สำเนาเวชระเบียน (ถ้ามี)

         ๑.๒ เงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีทุพพลภาพ

               (๑) ใบรับรองแพทย์

               (๒) สำเนาเวชระเบียน

         ๑.๓ เงินค่าทำศพ กรณีตาย

               (๑) สำเนามรณบัตร

               (๒) หลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพ

              (๓) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ประกันตนและผู้จัดการศพ

               (๔) สำเนาทะเบียนบ้านผู้ประกันตนและผู้จัดการศพ

         ๑.๔ เงินบำเหน็จชราภาพ กรณีชราภาพ (อายุครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์และไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตน “ลาออก”)

               (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

               กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย

(๑)    สำเนามรณบัตร

(๒)    สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ

(๓)    สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตนและของบิดา มารดา (ถ้ามี)

(๔)    สำเนาสูติบัตรของบุตร หรือสำเนาทะเบียนบ้านของบุตร (กรณีไม่มีสูติบัตร)

 

***ประโยชน์ทางภาษี***

     เงินสมทบในแต่ละปี ใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยใช้ใบเสร็จรับเงินที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเป็นหลักฐาน

 

-----------------------------------

 

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง เลขที่ ๒ ถนนเทศบาล ๘ ตำบลย่านซื่อ อำเภอเมือง        จังหวัดอ่างทอง โทรศัพท์หมายเลข ๐ ๓๕๖๒ ๕๑๔๖ ๐ ๓๕๖๒ ๖๓๓๗ ต่อ ๑๓๑-๑๓๔

 

ปรับขนาดตัวอักษร

สำนักงานประกันสังคม แจ้งผู้ประกันตนที่ออกจากงานต้องการใช้สิทธิประกันสังคมต่อ สามารถ

สมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา ๓๙ ได้ ภายใน ๖ เดือน หลังจากออกจากงาน

              นางนันทิยา พัวพันธุ์ ประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง แจ้งว่า ผู้ประกันตนที่ออกจากงานประสงค์จะใช้สิทธิ

ประกันสังคมต่อ สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา ๓๙ ได้ โดยยื่นแบบคำขอเป็นผู้ประกันตน

ตามมาตรา ๓๙ (แบบ สปส.๑-๒๐) ด้วยตนเอง ภายในระยะเวลา ๖ เดือน หลังจากสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน

หรือนับตั้งแต่วันที่ออกจากงาน อย่ารอให้ครบ ๖ เดือน เพราะจะทำเสียผลประโยชน์ในการขอรับสิทธิประโยชน์ได้

               ผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายประกันสังคมต่อไปรวม ๖ กรณี

๑)    กรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยไม่เนื่องจากการทำงาน

๒)    กรณีทุพพลภาพ

๓)    กรณีตาย

๔)    กรณีคลอดบุตร

๕)    กรณีสงเคราะห์บุตร

๖)    กรณีชราภาพ

โดยผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบในอัตราเดือนละ ๔๓๒ บาท และเนื่องในปี ๒๕๕๕ นี้ สำนักงานประกันสังคม

ได้ลดอัตราเงินสมทบให้ผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา ๓๙ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตน

ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัย ตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๕ นำส่งเงินสมทบเดือนละ ๒๔๐ บาท

และเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๕๕ นำส่งเงินสมทบเดือนละ ๓๓๖ บาท

               นางนันทิยาฯ กล่าวต่อว่า ในปี ๒๕๕๖ ผู้ประกันตนมาตรา ๓๙ ต้องนำส่งเงินสมทบในอัตราเดิม

คือ ๔๓๒ บาทต่อเดือน หากผู้ประกันตนรายใดมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

สำนักงานประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง เลขที่ ๒ ถนนเทศบาล ๘ ตำบลย่านซื่อ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง โทรศัพท์หมายเลข ๐ ๓๕๖๒ ๕๑๔๖ ต่อ ๑๓๓-๑๓๔ ในวันและเวลาราชการ หรือ โทรสายด่วน ๑๕๐๖ ได้ทุกวัน

ไม่เว้นวันหยุดราชการ

 

------------------------

 

 

                                                                                                                                           สำนักงานประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง

                                                                                                                                                   ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๕

ปรับขนาดตัวอักษร

สำนักงานประกันสังคม แจงสิทธิประโยชน์บริการทางการแพทย์กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ผู้ประกันตน

สามารถเข้ารับบริการรักษาโรงพยาบาลอื่น ซึ่งไม่ใช่โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง

ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา

              นางนันทิยา พัวพันธุ์ ประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง แจ้งประกาศคณะกรรมการแพทย์ฯ เรื่องหลักเกณฑ์

และจำนวนเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ กรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๔

โดยในส่วนของผู้ประกันตน หากเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินผู้ประกันตนไม่สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล

ตามบัตรรับรองสิทธิฯ ได้ ซึ่งมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยเร่งด่วน เพราะอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุดได้

               นางนันทิยาฯ กล่าวต่อว่า ผู้ประกันตน/ญาติ/ผู้เกี่ยวข้อง จะต้องรีบแจ้งให้โรงพยาบาลตามบัตร

รับรองสิทธิฯ ทราบในทันที เพื่อจะได้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลหรือรับตัวลูกจ้าง ผู้ประกันตน

ไปรักษาต่อ เป็นการลดภาระค่าใช้จ่าย ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนเข้ารับการักษาในโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ

สำนักงานประกันสังคมจะรับผิดชอบตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดภายใน ๗๒ ชั่วโมง นับแต่ผู้ประกันตน

เข้ารับการรักษา จนถึงเวลาที่โรงพยาบาลตามบัตรฯ ได้รับแจ้ง หากลูกจ้าง ผู้ประกันตนรายใดมีข้อสงสัย สามารถ

ติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง เลขที่ ๒ ถนนเทศบาล ๘ ตำบลย่านซื่อ อำเภอเมือง

อ่างทอง จังหวัดอ่างทอง โทรศัพท์หมายเลข ๐ ๓๕๖๒ ๕๑๔๖ ต่อ ๑๑๑-๑๑๕ ในวันและเวลาราชการ หรือ

โทรสายด่วน ๑๕๐๖ ได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ

 

------------------------

 

 

                                                                                                                                           สำนักงานประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง

                                                                                                                                                   ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๕

ปรับขนาดตัวอักษร

สำนักงานประกันสังคม แจงสิทธิผู้ประกันตนชาย หญิง ยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร

ได้ครั้งละ ๑๓,๐๐๐ บาท สามารถคลอดบุตรที่สถานพยาบาลใดก็ได้ อย่าลืม ยื่นขอรับสิทธิกรณีสงเคราะห์บุตร

๔๐๐ บาท/เดือน คราวละไม่เกิน ๒ คน รับสิทธิได้ในช่วงแรกเกิดถึงอายุ ๖ ปี

             นางจุฑาทิพ ลักษณา ประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง กระทรวงแรงงาน แจงสิทธิประกันสังคมกรณี

คลอดบุตรผู้ประกันตนชาย หญิง มีสิทธิได้รับค่าคลอดบุตรคนละ ๒ ครั้ง โดยผู้ประกันตนหญิงสามารถคลอดบุตร

ที่สถานพยาบาลใดก็ได้ แล้วนำสูติบัตรของบุตร สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน มาเบิกเงินที่สำนักงานประกันสังคม

จะได้รับค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย จำนวน ๑๓,๐๐๐ บาท รวมทั้งได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร

ในอัตราร้อยละ ๕๐ ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา ๙๐ วัน กรณีผู้ประกันตนชาย ที่มีภริยาจดทะเบียนสมรสหรือหญิง

ซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยา แต่มิได้จดทะเบียนสมรส สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ โดยนำสำเนาสูติบัตรบุตร สำเนา

ทะเบียนสมรส (ถ้ามี) หรือหนังสือรับรองกรณีมีทะเบียนสมรส (เฉพาะกรณีผู้ประกันตนใช้สิทธิแล้วไม่ได้จดทะเบียน

สมรสกับภริยา) มาเบิกเงินที่สำนักงานประกันสังคม จะได้รับเฉพาะเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย จำนวน ๑๓,๐๐๐ บาท

             อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำให้ผู้ประกันตนยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ

๔๐๐ บาทต่อบุตรหนึ่งคน สำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีอายุไม่เกิน ๖ ปีบริบูรณ์ ผู้ประกันตนจะต้องมีการนำส่ง

เงินสมทบมารแล้วไม่น้อยกว่า ๑๒ เดือนภายในระยะเวลา ๓๖ เดือน ทั้งนี้ การขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีดังกล่าว

ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิเบิกเงินสงเคราะห์บุตรได้คราวละไม่เกิน ๒ คน ในกรณีการใช้สิทธิของผู้ประกันตนหญิง

จะต้องยื่น (สปส.๒-๐๑) พร้อมแนบหลักฐานประกอบ ได้แก่ สูติบัตรตัวจริงของบุตรพร้อมสำเนา (กรณีคลอดบุตร

ฝาแฝดให้แนบสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาสมุดบัญชีธนาคารออมทรัพย์

หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตนของธนาคารใดธนาคารหนึ่ง คือ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารอิสลามแห่ง

ประเทศไทย และ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) และหากใช้สิทธิของผู้ประกันตนชาย จะต้องเป็นบุตรที่ชอบ

ด้วยกฎหมายเท่านั้น โดยจะต้องแนบหลักฐานข้างต้นเหมือนกับการใช้สิทธิของผู้ประกันตนหญิง แต่จะต้องมีหลักฐาน

เพิ่มอีกอย่างหนึ่ง คือ สำเนาทะเบียนสมรส หรือหนังสือรับรองบุตร (กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส)

             นางจุฑาทิพฯ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ หากลูกจ้าง ผู้ประกันตนรายใดมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง เลขที่ ๒ ถนนเทศบาล ๘ ตำบลย่านซื่อ อำเภอเมืองอ่างทอง

จังหวัดอ่างทอง โทรศัพท์หมายเลข ๐ ๓๕๖๒ ๕๑๔๖ ต่อ ๑๑๑-๑๑๕ ในวันและเวลาราชการ หรือ โทรสายด่วน

๑๕๐๖ ได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ

------------------------

 

                                                                                                                                         สำนักงานประกันสังคมจังหวัดอ่างทอง

                                                                                                                                                     ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗

15354763
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่ผ่านมา
เฉพาะเดือนนี้
เดือนที่ผ่านมา
ทั้งหมด
10707
47176
76091
15261681
205534
170375
15354763

IP 3.149.249.154
Server Time: 2024-07-24 08:18

สำหรับเจ้าหน้าที่

ปรับขนาดตัวอักษร

Copyright © 2015 จังหวัด อ่างทอง
จัดทำโดย กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดอ่างทอง ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
โทร.0-3561-1235 , 0-3561-4912  e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. / This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.